05 กุมภาพันธ์ 2552

คำถามจากโรงเรียนแกนนำการคิด

คำถามที่ถูกถามบ่อย...ทำไมต้องสอนคิด...

ที่ฉันสอนอยู่ทุกวันนี้เด็กไม่ได้คิดเลยหรืออย่างไร...ครูคิดไม่เป็นใช่ไหม...


ประโยคนี้เสียงสูงทำให้ผู้ฟังรู้สึกได้ถึงกระบวนการทางสมองของคุณครูที่เกิดข้อสงสัยข้อปัญหา ข้อขัดแย้งทำให้หัวใจของผู้เขียนพองโตขึ้นเป็นกองก็สภาวการณ์เช่นนี้เองที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับเด็กๆ
ในห้องเรียนการคิดการคิด (Thinking) เป็นกิจกรรมทางสมองที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

เมื่อได้รับสิ่งเร้าที่เป็นสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ ข้อมูล ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 : ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย ก่อเกิดสภาวะ ข้อสงสัย ปัญหา ความขัดแย้ง สมองจะเกิดกระบวนการคิดตอบข้อสงสัย แก้ปัญหา ขจัดความขัดแย้ง เป็นกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นตลอดเวลากับทุกคน ต่อการคิดที่น่าสนใจในที่นี้ได้แก่การคิดอย่างมีจุดมุ่งหมาย ( Directed Thinking) ซึ่งเป็นการคิดนำไปสู่เป้าหมายโดยตรงในการคิดค้นหาข้อสรุปอันเป็นคำตอบสู่การตัดสินใจ
ที่มีคุณภาพเป็นประโยชน์ต่อตนเองสังคมและประเทศชาติแม้การคิดเป็นนามธรรมมีลักษณะซับซ้อน
ยากที่จะมองเห็น แต่มีความพยายามมองว่าการคิดแสดงออกเป็นนามธรรมผ่านพฤติกรรม การพูด การเขียน ชิ้นงานและผลงานได้ จึงมีการให้นิยามทักษะการคิด ค้นหาเทคนิค วิธีการ เครื่องมือพัฒนาทักษะและสร้างนิสัยการคิดให้กับเด็กๆนอกจากนั้นสามารถกำหนดดัชนีชี้วัด
เพื่อประเมินระดับคุณภาพการคิดอีกด้วยแสดงให้เห็นว่าการคิดเป็นความสามารถอย่างหนึ่งทางสมองที่ฝึก
และพัฒนาได้ แล้วใครจะเป็นผู้ฝึกและพัฒนาทักษะการคิดที่สามารถที่สุด คำตอบก็คงเป็นครู ผู้ปกครอง บิดามารดา สถาบันทางสังคมและสื่อต่างๆ

คำตอบสุดท้ายของสังคมก็ฝากคุณครูเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในเพิ่มพูนระดับคุณภาพการคิด ทั้งที่ครูก็ออกแบบการเรียนรู้ที่หลอมรวมทักษะการคิดและเนื้อหาสาระการเรียนรู้เข้าด้วยกันอยู่แล้ว
ในที่สุดครูทุคนของโรงเรียนบ้านโพธิ์และโรงเรียนบ้านคาวิทยาที่เป็นโรงเรียนแกนนำขับเคลื่อนการคิด
สู่ห้องเรียนได้เปิดใจรับที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่กลับมาสำรวจแผนการจัดการเรียนเรียนรู้เพิ่มกิจกรรมการเรียน-การสอนและภาระงานให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิดมีการประเมินระดับคุณภาพการคิดของผู้เรียน
สู่เป้าหมายโครงการ คือ ยกระดับคุณภาพการคิดของผู้เรียนให้สูงขึ้นเพื่อสร้างคนดี คนเก่ง ซึ่งจะทำเด็กให้พบกับความสุขในการเรียนรู้และดำรงชีวิตต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ

03 กุมภาพันธ์ 2552

เอกสารDownload

คลิกหัวข้อที่ต้องการ Download!!

การคิดกับหลักสูตร



วิธีการ Download!!
1. Click เลือกหัวข้อที่ต้องการ Download
2. ปรากฏหน้าจอเว็บฝากไฟล์แล้ว Click ที่ Click here to start download
3. click Save

การสอนคิดในห้องเรียน

การสอนคิดในห้องเรียน สัมพันธ์กับหลักสูตรหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2545

1. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความนำ หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง การจัดหลักสูตรกับ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2545
1.1 ผลการวิเคราะห์ความนำ หลักการ จุดหมายของหลักสูตร พบว่า ความนำระบุถึงการพัฒนาการคิดไว้หลายประการ อาทิ สถานศึกษาจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด คิดเป็น จุดหมายของหลักสูตรระบุถึง ความคิดสร้างสรรค์ ปรับวิธีคิด ทักษะการคิด
 
1.2 ผลการวิเคราะห์โครงสร้างสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระที่สัมพันธ์กับการสอนคิด 2 กลุ่ม พบว่า กลุ่มแรก ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นสาระหลักที่จัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างพื้นฐานการคิด อันเป็นกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาวิกฤตของชาติ และกลุ่มที่สอง สุขศึกษาและพละศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ เป็นการเรียนรู้ที่สร้างศักยภาพในการคิด
 
1.3 ผลการวิเคราะห์การจัดหลักสูตรเพื่อค้นแนวทางการสอนคิดและฝึกทักษะการคิด ช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 พบว่า ทักษะพื้นฐานระบุถึงการคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ ช่วงชั้นที่ 3 ทักษะในการดำเนินชีวิต ระบุถึงความคิด ช่วงชั้นที่ 4 มุ่งเน้นให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์