14 ธันวาคม 2552

บทเรียนจากเชอร์โนบิล

            26 เมษายน พ.ศ. 2529 โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิล (Chernobyl Nuclear Power Plant)ที่เมืองเชอร์โนบิล ประเทศยูเครน(สมัยนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต)เกิดการระเบิด หลังจากที่ทีมวิศวกรตรวจสอบการทำงานของระบบทำความเย็น โดยปิดระบบรักษาความปลอดภัย เมื่อแรงดันไอน้ำภายในสูงขึ้นอย่างฉับพลันแต่ระบบตัดการทำงานอัตโนมัติกลับไม่ทำงาน ส่งผลให้ให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข4ระเบิด สารกัมมันตรังสีเกือบทั้งหมดแพร่กระจายสู่บรรยากาศ ในรัศมี 30กิโลเมตรมีการเปรอะเปื้อนรังสีสูง ถูกประกาศเป็นเขตอันตราย (Zone of alienation) สารกัมมันตภาพรังสีลอยออกไปปนเปื้อนทั้งในอากาศ แม่น้ำ ผืนดิน ทั่วทวีปยุโรปกว่า 3.9ล้านตารางกิโลเมตร ต้องอพยพประชาชนประมาณ 336,000 คน หลังอุบัติเหตุมีความพยายามปิดข่าวโดยแจ้งเพียงแค่ว่ามีเจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้าและเจ้าหน้าที่ดับเพลงเสียชีวิตจำนวน 31คน มีผู้บาดเจ็บจากกัมมันตรังสี 203 คน แต่ด้วยความต้องการไฟฟ้าจำนวนมาก รัฐบาลยูเครนก็สั่งเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เหลือในปี 2534 ก่อนที่โรงงานแห่งนี้จะปิดตัวเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2543 ในปี 2545 องค์กรอนามัยโลก (WHO)ได้สรุปผลความเสียหายว่า มีผู้เสียชีวิตจากแรงระเบิดโดยตรง 47ราย และคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีก 9,000คน จากจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดประมาณ 6.6ล้านคน ซึ่ง 4,000คน มีสาเหตุจากโรคมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ ที่เหลือจากโรคมะเร็งชนิดอื่นและโรคอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ได้รับผลกระทบทางจิตใจอีกจำนวนมาก นับว่าเป็นหายนะภัยจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่รุนแรงที่สุดในโลก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า หายนะภัยเชอร์โนเบลทำให้สารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลมากกว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่ถล่มฮิโรชิมาและนางาซากิถึง 200 เท่า

1 ความคิดเห็น:

Suchart Chantrawong, Ph.D. กล่าวว่า...

ขออนุญาตนำบล็อกไปไว้ใน รวมพลคนเขียนบล็อก(ราชบุรี) เพื่อแบ่งปันความรู้แก่กัน ดูรายละเอียดที่ http://rb-people.blogspot.com