03 พฤศจิกายน 2552

แหล่งการเรียนรู้

             
สุมน อมรวิวัฒน์ (2544 : 25) จำแนกประเภทแหล่งการเรียนรู้ไว้ 4 ประเภท คือ


1. แหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล ได้แก่ บุคคลทั่วไป ที่อยู่ในท้องถิ่นซึ่งสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้เรียนได้ เช่น ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ช่างฝีมือ พ่อค้า นักธุรกิจ พนักงานบริษัท ข้าราชการ ภิกษุสงฆ์ ศิลปิน นักกีฬา เป็นต้น

2. แหล่งการเรียนรู้ประเภทสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ สถานที่สำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณสถาน สถาบันทางศาสนา พิพิธภัณฑ์ สถานที่ราชการ ห้องสมุดตลาด ร้านค้า ห้างร้าน บริษัท ธนาคาร โรงมหรสพ โรงงานอุตสาหกรรม ถนน สะพาน เขื่อน ฝายทดน้ำ สวนสาธารณะ สนามกีฬา สนามบิน เป็นต้น

3. แหล่งการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ภูเขา ป่าไม้ พืช ดิน หิน แร่ ทะเล เกาะ แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง น้ำตก ทุ่งนา สัตว์ป่า สัตว์น้ำ เป็นต้น

4. แหล่งการเรียนรู้ประเภทกิจกรรมทางสังคม ประเพณี และความเชื่อ ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน วรรณกรรมท้องถิ่น ศิลปะพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้าน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ เป็นต้น

                 สรุปว่าแหล่งการเรียนรู้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา และแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น ประกอบด้วย แหล่งการเรียนรู้ประเภทสถานที่และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งสถานศึกษาควรจำแนกประเภทของแหล่งการเรียนรู้โดย คำนึงถึงลักษณะที่ตั้ง ลักษณะการใช้งาน ทรัพยากรที่มีอยู่และบริบทของท้องถิ่น

ไม่มีความคิดเห็น: