28 พฤศจิกายน 2552

คำถามกระตุ้นการคิด

คำถามกระตุ้นการคิด ต้องให้เวลาอย่างเพียงพอ ทั้ง การคิดเดี่ยว  การคิดคู่   การคิดกลุ่ม


 คำถามเพื่อให้ทำความเข้าใจให้กระจ่างชัด


- ที่….นั้นหมายความว่าอย่างไรนะ ?


- ช่วยอธิบายเพิ่มเติมอีกหน่อยได้ไหม ?


- ช่วยยกตัวอย่างหน่อยได้ไหม ?


- เราสามารถนำ............ไปใช้กับวิธีอื่น ๆ ได้ไหม ?

คำถามเพื่อให้สืบค้น



- เราต้องการรู้อะไร ?


- เราจะค้นพบเรื่องนี้ได้อย่างไร ?


- เราจะหาคำตอบเรื่องนี้ได้อย่างไร ?


- จะเกิดอะไรขึ้นถ้า… ?


คำถามเพื่อให้ค้นหาเหตุผล



- ทำไมจึงพูดเช่นนั้น ?


- มีเหตุผลอย่างไรบ้าง


- มีอะไรเป็นร่องรอย / หลักฐานยืนยันเรื่องนี้บ้าง ?


- ทำไมจึงคิดเช่นนั้น ?

คำถามเพื่อกระตุ้นการวางแผน



- จะทำเรื่องนี้ได้อย่างไร / โดยวิธีใด ?


- มีวิธีการอย่างไร ?


- เรื่องนี้คล้ายกับเรื่องที่เคยทำมาก่อนอย่างไร ?


- เข้าใจเรื่องนี้ดีพอหรือยัง ?


- ยังมีคำถามที่ต้องการถาม / ต้องการรู้อีกไหม ?


- ทำมาถูกทางหรือไม่ ?


- ยังดำเนินการตามขั้นตอนอยู่หรือไม่ ?


- มีวิธีอื่นอีกไหม ?


คำถามเพื่อการประเมินผลงาน



- มีวิธีการทำมาอย่างไร ?


- มียุทธวิธีอย่างไร ?


- ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากงานนี้ ?


- เป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ?


- ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากความผิดพลาดครั้งนี้ ?


- ในครั้งต่อไปจะทำให้ดีกว่านี้ได้ไหม ?

ประโยคที่ใช้เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนประเมินตนเอง เช่น



- ได้เลือกและจำแนกข้อมูลที่สำคัญที่สุดแล้ว


- สามารถชี้ได้ว่าอะไรเหมือน / อะไรต่างกัน


- ได้นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีค้นหาคำตอบ


- สามารถตรวจเช็คได้ว่าเป็นหลักฐานจริง


- สามารถมองย้อนไปแล้วเห็นวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างจากเดิม


- ฟังและสนทนากับคนอื่น ๆ ในกลุ่มให้ช่วยกันทำงานได้


- ได้ให้ข้อเสนอเป็นแนวคิดใหม่ ๆ แก่กลุ่ม


- ได้เสนอแนวทาง / วิธีการที่แตกต่างสำหรับการทำงาน


- สามารถเชื่อมโยงชิ้นส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ ของข้อมูลสารสนเทศที่คนอื่นไม่สามารถทำได้


- สามารถอธิบายถึงการปฏิบัติและแนวคิดแต่ละเรื่องได้

เครื่องมือช่วยฝึกคิด

ในการออกแบบบทเรียนการคิด หากครูได้ออกแบบกิจกรรมตามบทเรียนให้เป็น

              กิจกรรมที่เน้นเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับการคิดแล้ว ครูสามารถนำเครื่องมือช่วยฝึกคิดมาประยุกต์ใช้ส่งเสริมการฝึกคิด และการจัดระบบความคิดให้นักเรียน ได้แก่


1. การใช้คำถามกระตุ้นการคิด


2. การใช้แผนผังกราฟฟิค (Graphic Orgphic)


3. การใช้กิจกรรมส่งเสริมการแสดงความคิด

การใช้บทบาทสมมติ

             การใช้บทบาทสมมติ  เป็นการกำหนดให้นักเรียนมีบทบาท ให้มองภาพปัญหา  ทางออกในมุมมองนั้น ครูสามารถสร้างวิธีของตนเอง  นำมาใช้ในการพัฒนา ความคิดเห็นอกเห็นใจ และการแก้ปัญหาแบบได้ประโยชน์ทุกฝ่าย ด้วยการฝึกให้ผู้เรียนมีมุมมองหลายทิศทาง เช่น การคิดตามมุมมองต่าง ๆ โดยใช้ทิศทางของหมวก 6 ใบ ของเดอโบโน



ภาพจาก ruchareka.wordpress.com/.../six-thinking-hats/


                     คนมักจะเอาข้อเท็จจริง อารมณ์ หรือเหตุผลส่วนตัว มาปะปนกันในการถกเถียงเพื่อหวังเป็นผู้ชนะ เชื่อว่าวิธีการคิด การหาเหตุผลดังกล่าวข้างต้นเป็นวิธีที่ผิดและเสียเวลา ดังนั้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 1970 เขาจึงเสนอวิธีคิดแบบ  Six Thinking Hats ประกอบด้วยหมวก 6 ใบ 6 สี คือ

1. White Hat หรือ หมวกสีขาว หมายถึง ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้น เป็นความคิดแบบไม่ใช้อารมณ์ และมีเป้าประสงค์ที่ชัดเจน แน่นอน ตรงไปตรงมา ไม่ใส่ต้องการความคิดเห็น สีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้ต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น
2. Red Hat หรือ หมวกสีแดง หมายถึง ไม่สนใจข้อมูล ให้ความสำคัญความรู้สึกอารมณ์ สัญชาตญาณ เมื่อสวมหมวกสีนี้สามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี มีการใช้ ความคิดเชิงอารมณ์ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์หรือการตระหนักรู้โดยฉับพลัน ทำให้เกิดการค้นพบทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีคิดทางคณิตศาสตร์
3. Black Hat หรือ หมวกสีดำ หมายถึงมองจุดอ่อน ข้อเสีย ข้อควรคำนึงที่ทำให้เราเห็นว่าไม่ควรทำ เป็นการคิดในเชิงระมัดระวัง หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่เป็นธรรมชาติและสอดคล้องกับวิธีการคิดของตะวันตกมาก หมวกสีดำช่วยชี้ให้เราเห็นว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดไม่สอดคล้องและสิ่งใดใช้ไม่ได้  และผิดกฎหมาย หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่มีเหตุมีผลเสมอในการวิพากษ์วิจารณ์
4. Yellow Hat หรือ หมวกสีเหลือง หมายถึง การคาดการณ์ในทางบวก ความคิดเชิงบวก เป็นการมองโลกในแง่ดี การมองที่เป็นประโยชน์ เป็นการคิดที่ก่อให้เกิดผล หรือทำให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้นได้
5. Green Hat หรือ หมวกสีเขียว หมายถึง ความคิดนอกกรอบเป็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและมุมมองซึ่งปกติ เมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์
6. Blue Hat หรือ หมวกสีน้ำเงิน  หมายถึง การวางแผนและการบริหารกระบวน การคิด เพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของความคิดรวบยอด ข้อสรุป การยุติข้อขัดแย้ง การมองเห็นภาพและการดำเนินการที่มีขั้นตอนเป็นระบบ เมื่อมีการใช้หมวกน้ำเงิน หมายถึง ต้องการให้มีการควบคุมสิ่งต่างๆ ให้อยู่ในระบบระเบียบที่ดีและถูกต้อง  หมวกสีน้ำเงินมักทำหน้าที่ควบคุมควบคุมการดำเนินการประชุม การอภิปราย การทำงาน การสรุปผลเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ไนโตรเจน




ภาพจากwww.rmuti.ac.th/.../t_3/3_3.htm




ภาพจากsriyapai.thaisouth.com/.../com/menu8.htm




อ๊อกซิเจน


ภาพจากwww.northeducation.ac.th/.../sc2120_20.html

ฟอสฟอรัส










ภาพจาก learners.in.th/file/prathom01/list

ความสัมพันธ์ของระบบนิเวศ











ภาพจากwww.student.chula.ac.th/.../nutrientcycle.htm
            www.northeducation.ac.th/.../sc2120_20.html

การเรียงลำดับ

เป็นการอธิบายความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนลำดับการทำลำดับการเจริญเติบโตและกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่มีเวลาเป็นตัวกำกับ นอกจากนี้ยังมีการเรียงลำดับตามกายภาพ เช่น เล็กไปหาใหญ่ ราคามากไปหาราคาน้อย การเรียงลำดับงาน เรียงลำดับการเจริญเติบโตของสัตว์ เรียงลำดับจำนวนและเรียงลำดับเหตุการณ์ เป็นต้น อาจใช้แผนภาพต่าง ๆ มาช่วยในการเรียงลำดับได้การคิดแบบเรียงลำดับ จะทำให้ผู้เรียนรู้จักทำนายว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป… ต่อไปจะ เป็นอย่างไร…….เป็นการคิดเป็นวัฏจักร (Life cycle)


การคิดเป็นวัฏจักร (Life cycle)


น้ำ


ภาพจากhttp://th.wikipedia.org/









ภาพจาก blog.eduzones.com/kroobannok/24114

















ภาพจากblog.eduzones.com/.../print.php?content_id=25929

ปลา



ภาพจาก coursewares.mju.ac.th/.../Lession/lession7.htm

แมลงสาบ











dog1noname.exteen.com/20070617/entry

ไหม



ภาพจากhttp://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK7/chapter3/t7-3-l3.htm#sect4

แมลงปอ













www.dnp.go.th/.../link/metamorphosis.htm

ยุง












ภาพจาก www.vcharkarn.com/vblog/45262

กบ





ภาพจาก sinthoo.blogspot.com/2009/07/1.html

ผีเสื้อ



ภาพจาก 202.142.219.4/vcafe/23924/3

27 พฤศจิกายน 2552

การฝึกให้ผู้เรียนจัดกระทำข้อมูล

               การจำแนกจัดหมวดหมู่ เป็นการจำแนกจัดหมวดหมู่สิ่งของต่างๆ มีอะไร


เหมือนกันบ้างอะไรต่างกันบ้าง จัดเข้ากลุ่มหรือพวกเดียวกัน

การสร้างนิสัยแห่งการคิด

                     การเรียนรู้ที่ดีจะต้องพัฒนาการคิดเป็นพื้นฐานอยู่เสมอ ครูที่ประสงค์จะฝึกให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด จะจัดการเรียนรู้ที่ยึดการพัฒนาทางสมองเป็นพื้นฐานหลักอยู่เสมอวิธีปฏิบัติที่นิยมใช้คือ “การสร้างนิสัยแห่งการคิด”

                     การฝึกให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล โดย การฝึกความสามารถในการรับรู้ สังเกต แสวงหาข้อมูลอย่างหลากหลายโดยผ่านประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่นดู ฟัง ถาม สัมผัส ลองทำง่าย ๆ การมีข้อมูลทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของการคิดซึ่งต้องได้รับ การเพิ่มเติมด้วยวิธีคิดคุณภาพของข้อมูล คือ ลักษณะของรูปธรรม กายภาพ เพิ่มขึ้น เป็นการเคลื่อนไหว และเพิ่มเป็นนามธรรม

                     การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาข้อมูล

¤ จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนไปดู ฟัง อ่าน สัมผัส ลองทำ ทดลอง เป็นต้น

¤ นำเสนอสิ่งที่ต้องการให้นักเรียนเห็น เช่น บัตรคำ รูปถ่าย การสาธิต เป็นต้น

¤ เมื่อมอบให้ผู้เรียนทำกิจกรรม หรือนำเสนอแล้ว ก็ให้ผู้เรียนบันทึกเป็นภาพของตนเองพร้อมทั้งพูดอธิบาย หรือเขียนอธิบาย หรือเสนอคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องลงในแผนภาพ เป็นต้น

¤ ครูศึกษาดูว่าในภาพที่นักเรียนนำเสนอนั้นมีข้อมูลระดับใด จำนวนมากน้อยเพียงใด ต่อจากนั้นครูก็ใช้คำถาม เพื่อให้ผู้เรียนเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ถ้าเขามีมูลน้อย 2 – 3 ด้าน ก็ขยายให้เป็นหลายๆ ด้าน ถ้าเขามีหลายด้านแล้วก็ถามให้ลงลึกถึงการเปลี่ยนแปลง หรือความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๆ ต่อเนื่องขึ้นไปจนถึงนามธรรม ลักษณะคำถามที่ครูสามารถนำไปใช้ พอสรุปได้ คือ

                               คำถามพื้นฐานเกี่ยวกับใคร อะไร ที่ไหน เมื่อใด เป็นอย่างไร และทำไม

                              คำถามลักษณะรายละเอียดเกี่ยวกับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสความรู้สึก

                              คำถาม ให้ขยายบริเวณ นำสู่ความสัมพันธ์แบบต่าง ๆ ข้างซ้าย มีอะไรเกี่ยวกันอย่างไรข้างขวามีอะไรเกี่ยวกันอย่างไร ข้างบน ข้างล่างมีอะไรเกี่ยวกันอย่างไร

                              คำถามให้เห็นการเคลื่อนที่ นามธรรม เช่น รูปเทียนที่มีเปลวไฟ คำศัพท์ ถามว่าร้อนไหม ได้กลิ่นไหม้ไหม กลัวไหม เป็นต้น




22 พฤศจิกายน 2552

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Learning Integration)

                     การบูรณาการเป็นการกำหนดเป้าหมายการเรียน ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยนำกระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระเดียวกันหรือต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้มาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนซึ่งจัดได้หลายลักษณะ (กรมวิชาการ 2545:21-22 ) รูปแบบของการบูรณาการ (Models of Integration) 4 รูปแบบ คือ

1.บูรณาการแบบสอดแทรก (Infusion Instruction) ผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ต่างๆ กับหัวข้อเรื่องสอดคล้องกับชีวิตจริงหรือสาระที่กำหนดขึ้นมา เช่น เรื่อง น้ำ พืช  ผู้สอนสามารถ เชื่อมโยงสาระ และกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่างๆ เช่น การอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการเรียนรู้ไปแสวงหาความจริงจากหัวข้อเรื่องที่กำหนด

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การสอนที่มุ่งจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต เหมาะสมกับความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริง ทุกขั้นตอนจนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง


1. ให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง (Construct) ดังนี้

            แสวงหาข้อมูล

            ศึกษาทำความเข้าใจ

            คิดวิเคราะห์

            ตีความ

            แปลความ

            สร้างความหมายแก่ตนเอง

            สังเคราะห์ข้อมูล

            สรุปความรู้

2. ให้ผู้เรียนมีบทบาท และมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้มากที่สุด (Participation)

3.ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน และได้เรียนรู้จากกันและกัน ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ความคิด และประสบการณ์แก่กันและกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (Interaction)

4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ “กระบวนการ” ควบคู่ไปกับ “ผลงาน/ข้อความรู้ที่สรุปได้” (Process / Product)

5. ให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน (Application)

05 พฤศจิกายน 2552

แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน




การสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

1. แหล่งเรียนรู้ที่กำหนดเป็นแหล่งศึกษาในท้องถิ่นนั้นๆ สามารถที่จะให้ข้อมูล ที่เป็นความรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างเพียงพอ และสอดคล้องกับประเด็นของการเรียนรู้

2. ผู้สอนต้องชี้แนะวิธีการเก็บข้อมูล การสังเกต โดยเฉพาะ การสัมภาษณ์บุคคลในท้องถิ่น ควรเลือกบุคคลที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นนานพอสมควร และความพร้อมที่จะ ให้ข้อมูล

การศึกษาสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

1. ขั้นสำรวจ   โดยทั่วไปจะประกอบด้วยการสำรวจ แหล่งน้ำ ป่าไม้ ดิน สารเคมีที่ใช้ในเกษตรกรรม ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม เช่น แหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ หน่วยงานองค์กรที่เป็นแหล่งเรียนรู้

03 พฤศจิกายน 2552

การหาความรู้และประสบการณ์จากการทัศนศึกษา

1. สังเกตสิ่งรอบตัว พร้อมจดบันทึก

2. สนใจฟังความบรรยาย ของวิทยากร

3. เมื่อต้องการความรู้เพิ่มเติม ควรซักถามวิทยากร

4. ถ้ามีกล้องถ่ายรูป ควรถ่ายภาพที่น่าสนใจไว้



การเรียนรู้โดยวิธีการศึกษานอกสถานที่

               การเรียนรู้แบบการศึกษานอกสถานที่ เป็นการจัดการเรียนรู้ ที่ผู้สอนพาผู้เรียนออกไปศึกษานอกสถานที่ เพื่อแสวงหาคำตอบจากประสบการณ์ตรงและสถานที่จริง โดยมีวิทยากรเป็นผู้ให้ความรู้ การพาผู้เรียนไปนอกสถานที่ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์เกี่ยวกับการพัฒนาด้านสังคม ให้รู้จักรับผิดชอบต่อชุมชน ต่อตนเอง ส่งเสริมการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เร้าความสนใจให้แก่ผู้เรียน การศึกษานอกสถานที่ถือเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่ามาก เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกๆ เพราะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ตรง สามารถเกิดเจตคติที่พึงประสงค์ ปลูกฝังเยาวชนให้รู้จักหวงแหน ภาคภูมิใจ รักและห่วงใยต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดได้ยากหากผู้เรียนเรียนรู้เฉพาะในห้องเรียน


แนวทางการจัดการเรียนรู้ โดยการศึกษานอกสถานที่มีวิธีการปฏิบัติและขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นวางโครงการ

           1.1 กำหนดสถานที่พาผู้เรียนไปศึกษา ต้องเป็นสถานที่ที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับประเด็นที่จะเรียนรู้

           1.2 ผู้สอนต้องสำรวจสถานที่ ที่จะไปเสียก่อน ซึ่งบางครั้งแหล่งที่กำหนดอาจมีปัญหาและไม่พร้อมที่จะใช้เป็นแหล่งศึกษาได้

การศึกษาระบบนิเวศภายในโรงเรียน


            การศึกษาระบบนิเวศในโรงเรียน เป็นกระบวนการจัดกิจกรรมประสบการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตระหนักในคุณค่าของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ตัว เห็นแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา สภาพแวดล้อมในโรงเรียนสามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ ได้อย่างง่ายๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละโรงเรียน แหล่งศึกษา ระบบนิเวศ อาทิ สระน้ำ สวนหย่อม สวนป่า เป็นต้น
แนวทางการศึกษาระบบนิเวศบริเวณโรงเรียนมีขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นสำรวจ
       1.1 ผู้สอนให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบนิเวศ องค์ประกอบของระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ และการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศ

      1.2 แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มตามความสมัครใจ เฉลี่ยจำนวนคนตามปริมาณผู้เรียน แต่ละห้องเรียน

      1.3 กำหนดจุดศึกษา โดยพิจารณาว่ามีความเหมาะสมและมีเนื้อหาสาระเพียงพอที่จะให้ความรู้เรื่องระบบนิเวศได้ผู้สอนต้องสำรวจสถานที่ที่จะกำหนดเป็นจุดศึกษาอย่างละเอียด

      1.4 สิ่งที่ต้องให้ผู้เรียนศึกษา ผู้สอนควรมีแบบปฏิบัติกิจกรรมให้กับผู้เรียน เพื่อจะได้เข้าใจกรอบของการศึกษาว่าควรจะศึกษาเรื่องใดบ้าง

      1.5 ระดมสมองกำหนดข้อควรปฏิบัติที่เหมาะสม เช่น ความปลอดภัยของผู้เรียนและ วิธีการศึกษาที่จะทำให้ได้ข้อมูลตามที่ต้องการ

      1.6 เตรียมเอกสารข้อมูล อุปกรณ์ ในการปฏิบัติกิจกรรม เช่น ดินสอ ปากกา แว่นขยายถุงพลาสติก เป็นต้น

ข้อเสนอแนะในการใช้แหล่งเรียนรู้

1. การเตรียมการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน

     1.1 ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร จุดประสงค์และความสัมพันธ์ของเนื้อหา

     1.2 จัดทำแผนการเรียนรู้

     1.3 กำหนดสื่อจากแหล่งเรียนรู้สิ่งแวดล้อมของจริง(ธรรมชาติ)

     1.4 กำหนดวิธีการ และเครื่องมือวัดผลประเมินผล

     1.5 วางแผนการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากแหล่ง การเรียนรู้

2. การกำหนดสถานที่แหล่งเรียนรู้ สามารถกำหนดได้ 3 ประเภท คือ

     2.1การไปศึกษาแหล่งการเรียนรู้ในระยะทางใกล้ๆ หมายถึง การพาผู้เรียนไปยังสถานที่อื่นนอกห้องเรียนแต่ยังคงอยู่ในโรงเรียน การศึกษา ระบบนิเวศบริเวณโรงเรียน

     2.2การไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ในระยะทางไม่ไกลมากนัก หมายถึง การศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงเรียน ที่สามารถเดินทางไปได้สะดวก เช่น การพาผู้เรียนไปศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นที่มีอยู่จริง

     2.3การไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ในระยะทางไกล หมายถึง การจัดการศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ที่ไกลจากโรงเรียน ต้องใช้ยานพาหนะ และต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 วันขึ้นไป

3. การปฐมนิเทศผู้เรียนก่อนไปศึกษานอกชั้นเรียน

     3.1 แหล่งที่ไปศึกษาและเหตุผลที่จะไป อธิบายถึงลักษณะของสถานที่ เช่น พิพิธภัณฑ์ หรือโรงงานอุตสาหกรรม และสถานที่ประเภทเดียวกันที่มีอยู่บริเวณใกล้เคียง

     3.2 วิธีการเดินทาง พาหนะในการเดินทางและค่าเดินทางที่ผู้เรียนต้องจ่าย

     3.3 ประโยชน์ของการศึกษานอกสถานที่ เป็นการทบทวนหรือการเริ่มต้นหน่วยการเรียน และกิจกรรมประเภทนี้ดีกว่ากิจกรรมอื่นๆในชั้นอย่างไร

4. ขั้นตอนการพาผู้เรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่

     4.1 ขั้นกำหนดความมุ่งหมาย ความมุ่งหมายในการไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ จะต้องก่อให้เกิดคุณค่าทางวิชาการ ได้ผลคุ้มค่า และไม่มีกิจกรรมอย่างอื่นทดแทนได้ ในการกำหนดความมุ่งหมายนี้ผู้สอนต้องคำนึงถึงว่า มีความจำเป็นที่จะต้องพาไปศึกษานอกชั้นเรียนเกี่ยวข้องกับวิชาที่เรียนจริงหรือไม่ ต้องการไปศึกษาอะไร สภาพแวดล้อมเหมาะสมหรือไม่

     4.2 ขั้นเตรียมการ ผู้สอนวางแผนการร่วมกับผู้เรียนไปสำรวจแหล่ง ที่จะไปเสียก่อน อภิปรายถึงเหตุผลที่จะไป ผู้สอนปฐมนิเทศให้แนวทางกับผู้เรียนว่าจะต้องเตรียมอะไรบ้าง จะไปโดยวิธีไหน อย่างไร เวลาไหน ผู้สอนต้องแจ้งกำหนดการให้เจ้าของสถานที่ทราบ ถ้าเดินทางไปในระยะทางไกลต้องขออนุญาตผู้ปกครองและปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่

    4.3 ขั้นเดินทางและศึกษาแหล่งเรียนรู้ ออกเดินทางศึกษาแหล่งเรียนรู้ ตามกำหนดนัดหมาย ถ้าเป็นหน่วยงาน เมื่อถึงสถานที่ศึกษาดูงานแล้วผู้สอนควรพาผู้เรียนไปทำความรู้จักกับเจ้าของสถานที่ เจ้าของสถานที่อาจกล่าวต้อนรับและแนะนำสถานที่ หรือแบ่งกลุ่มให้วิทยากรเจ้าของสถานที่เป็นผู้พาไปดูและอธิบายให้ทราบ สถานที่ บางแห่งอาจมีการแจกเอกสารประกอบด้วยก็ได้ ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนได้สังเกตซักถาม ถ่ายภาพ หรือทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้ความรู้ให้มากที่สุด

4. ขั้นประเมินผล เมื่อผู้เรียนกลับมาแล้ว ผู้สอนควรให้ผู้เรียนประเมินว่าได้ผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ โดยจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น ประชุมปฏิบัติการ ทำการทดลอง ในห้องปฏิบัติการ อภิปราย จัดนิทรรศการ เขียนรายงาน

บทบาทของผู้เรียน


บทบาทของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้มีดังนี้

1.สำรวจแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ท้องถิ่น และศึกษาเอกสารพร้อมทั้งจดบันทึก

2.แบ่งกลุ่ม แบ่งหน้าที่การทำงาน นำความรู้เสนอภายในกลุ่ม

3.ตรวจสอบข้อมูล ความถูกต้อง ศึกษา ค้นคว้าจากเอกสารเพิ่มเติม จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ

4.ประเมินผลด้านความรู้ กระบวนการทำงานโดยตนเอง คณะครู และผู้ปกครอง

5.เลือกรูปแบบและวิธีการนำเสนอผลงาน

6.เสนอผลงานการปฏิบัติงาน เผยแพร่ผลงานต่อผู้เรียน คณะครู ผู้ปกครอง ท้องถิ่นสรุปผล และประเมินผลการเผยแพร่ผลงาน

บทบาทของผู้สอน

บทบาทของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ มีดังนี้

1. รวบรวมข้อมูลที่มีในโรงเรียนและท้องถิ่นของผู้เรียน

2. ให้คำปรึกษา แนะนำผู้เรียน ในการศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้

3. จัดหา ประสานงาน วัสดุอุปกรณ์ เอกสารเพิ่มเติม ให้การแนะนำ และสร้างขวัญกำลังใจ

4. ประเมินการเรียนรู้จากกิจกรรมในภาพรวม

5. ติดตามช่วยเหลือการดำเนินการ แนะนำความถูกต้อง

6. ประยุกต์ใช้ เผยแพร่ผลงาน สรุปผลและประเมินผล

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้

 การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ ฝึกให้เกิดทักษะกระบวนการคิดเพื่อประยุกต์ความรู้ มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ฝึกการปฏิบัติให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง และให้ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆให้สมดุลกัน มีขั้นตอนดังนี้



                      
รายละเอียดขั้นตอนการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้

1.ขั้นสำรวจ ผู้สอนให้ผู้เรียนศึกษา สำรวจแหล่งเรียนรู้ ในโรงเรียน และ ในท้องถิ่นของผู้เรียน


2.ขั้นเรียนรู้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้ และปฏิบัติกิจกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ และมีการวางแผนร่วมกันในการปฏิบัติงาน


3.ขั้นประเมินผล เป็นขั้นตอนการวัดและประเมินผลจากสภาพจริง ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในการจัดเรียนรู้ โดยมีผู้สอน ผู้เรียน ผู้ปกครอง เป็นผู้ประเมิน


4.ขั้นนำไปใช้เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถ นำความรู้ที่ได้จากแหล่งเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน


5.ขั้นประยุกต์ความรู้ และเผยแพร่ผลงานเป็นขั้นที่ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และเผยแพร่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน สังคม และชุมชนต่อไป


 

แนวคิดในการจัดการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้

                          แนวคิดของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิด ได้ปฏิบัติงานด้วยเอกลักษณ์ของตัวเอง แนวคิดที่สำคัญ มีดังนี้


1.การจัดการเรียนรู้เน้นความสำคัญที่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ในกระบวนการเรียนรู้


2.ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการฝึกทักษะการใช้กระบวนการคิด การวิเคราะห์ การสังเกต การรวบรวมข้อมูล และการปฏิบัติจริง ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น


3.ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกกับการเรียนรู้ได้คิด แสดงออกอย่างอิสระ บรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นกัลยาณมิตร


4.ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทั้งระบบ


5.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้สอนให้มาเป็นผู้รับฟัง ผู้เสนอแนะผู้ร่วมเรียนรู้ เป็นที่ปรึกษา ผู้สร้างโอกาส สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้เป็นนักออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีบทบาทมากที่สุด


6.ต้องการให้เรียนรู้ในสิ่งที่มีความหมายต่อชีวิต คือ สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวจากง่ายสู่ยาก จากรูปธรรมสู่นามธรรม โดยใช้แหล่งการเรียนรู้เป็นสื่อ ประสบการณ์ชีวิต ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาเป็นฐานการเรียนและประยุกต์ใช้กับการป้องกันและแก้ปัญหา


7.ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสจัดกิจกรรมได้เรียนรู้ตามความต้องการ ความสนใจ ใฝ่เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเอง


8.ถือว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาทุกสถานที่


9.ปลูกฝังสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ในทุกสาระการเรียนรู้





แนวคิดในการจัดการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้




แนวคิดของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิด ได้ปฏิบัติงานด้วยเอกลักษณ์ของตัวเอง แนวคิดที่สำคัญ มีดังนี้

1.aการจัดการเรียนรู้เน้นความสำคัญที่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ในกระบวนการเรียนรู้

2.aให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการฝึกทักษะการใช้กระบวนการคิด การวิเคราะห์ การสังเกต การรวบรวมข้อมูล และการปฏิบัติจริง ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น

3.aผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกกับการเรียนรู้ได้คิด แสดงออกอย่างอิสระ บรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นกัลยาณมิตร

4.aผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทั้งระบบ

5.aปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้สอนให้มาเป็นผู้รับฟัง ผู้เสนอแนะผู้ร่วมเรียนรู้ เป็นที่ปรึกษา ผู้สร้างโอกาส สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้เป็นนักออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีบทบาทมากที่สุด

6.aต้องการให้เรียนรู้ในสิ่งที่มีความหมายต่อชีวิต คือ สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวจากง่ายสู่ยาก จากรูปธรรมสู่นามธรรม โดยใช้แหล่งการเรียนรู้เป็นสื่อ ประสบการณ์ชีวิต ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาเป็นฐานการเรียนและประยุกต์ใช้กับการป้องกันและแก้ปัญหา

7.aให้ผู้เรียนได้มีโอกาสจัดกิจกรรมได้เรียนรู้ตามความต้องการ ความสนใจ ใฝ่เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเอง

8.aถือว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาทุกสถานที่

9.aปลูกฝังสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ในทุกสาระการเรียนรู้

ลักษณะของการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้



1. ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ค้นหาความรู้ด้วยตัวเอง


2. ผู้เรียนฝึกทำงานเป็นกลุ่มร่วมคิดร่วมทำร่วมแก้ปัญหาต่างๆซึ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และเพิ่มพูนทักษะสั่งสมประสบการณ์


3. ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสังเกตการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การตีความและสรุปความ คิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ


4. ผู้เรียนประเมินผลการทำงานด้วยตนเอง


5. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้และเผยแพร่ความรู้ได้


6. ผู้สอนเป็นที่ปรึกษา ให้ความรู้ ให้คำแนะนำ ให้การสนับสนุน



การจัดการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้

             งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ จากประสบการณ์ตรงเป็นที่ยอมรับกัน อย่างแพร่หลาย คือ การเปรียบเทียบประสบการณ์ในรูปแบบต่างๆ ของผู้เรียน โดยพบว่า ผู้เรียนที่เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมจะมีประสบการณ์มากกว่าผู้เรียนที่เรียนจากสิ่งที่เป็นนามธรรม เจ้าของแนวความคิดนี้ คือ เอดการ์ เดล แห่งมหาวิทยาลัยโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา (Edgar Dale อ้างถึงใน ชัยยงค์ พรหมวงศ์ 2548 : ออนไลน์) แสดงว่า การนำแหล่งการเรียนรู้มาเป็นประสบการณ์ตรงในการจัดการเรียนรู้นั้น ย่อมทำให้ผู้เรียนเกิดเรียนรู้มากยิ่งขึ้น แต่การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพมากหรือน้อยเพียงใดแตกต่างจากการเรียนรู้ปกติที่จัดในชั้นเรียนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ ความเหมาะสมในการใช้แหล่งการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้เรียน และกาญจนา เอกะวิภาต (2544:12) ได้ให้ความเห็นว่าแหล่งการเรียนรู้ เป็นสื่อที่สนองความต้องการของผู้เรียน ในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ได้รับความรู้อย่างสะดวก รวดเร็วถูกต้องเหมาะสมในลักษณะของแหล่งรวมวิทยากร ให้ผู้เรียนเข้าไปเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต


แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง จากแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนและท้องถิ่น

การบริหารและจัดการแหล่งการเรียนรู้

1.กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาและใช้แหล่งการเรียนรู้ไว้ในแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการสถานศึกษา

2.ปรับปรุงระบบบริหารจัดการและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้

3.ประสานความร่วมมือกับชุมชนร่วมมือในการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาและ สร้างบรรยากาศให้สถานศึกษาเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

4.กำหนดให้คณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้มาบูรณาการทั้งเนื้อหาสาระและจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

5.กำหนดมาตรการให้ครูผู้สอนใช้สื่อที่หลากหลาย และใช้แหล่งการเรียนรู้ ในสถานศึกษาและท้องถิ่นสร้างประสบการณ์ตรงให้กับผู้เรียนได้ฝึกทักษะและลงมือปฏิบัติจริง

6.ประเมินผลการใช้แหล่งการเรียนรู้รวบรวมข้อมูลสารสนเทศ ปัญหา อุปสรรค อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและการใช้แหล่งการเรียนรู้

7.เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การพัฒนาและใช้แหล่งการเรียนรู้

8.สร้างเครือข่ายการเรียนรู้

แนวทางการบริหารแหล่งการเรียนรู้

          การบริหารสถานศึกษาปัจจุบันเน้นการบริหารคุณภาพ ตามวงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle : PDCA) ซึ่งสถานศึกษาสามารถนำมาใช้ในการบริหารแหล่งการเรียนรู้ เพื่อให้การจัดแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษามีคุณภาพ การบริหารคุณภาพจะทำให้ การบริหารงานพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา มีการทำงานที่เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ ช่วยส่งเสริมการใช้แหล่งการเรียนรู้บรรลุเป้าหมายตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระบบบริหารจัดการที่ดีตามระบบวงจรคุณภาพด้วยการมีส่วนร่วมของบุคลากรและชุมชน ประกอบด้วย การวางแผน (Plan) การดำเนินงานตามแผน (Do) การตรวจสอบ (Check) การพัฒนาปรับปรุง (Action) (กระทรวงศึกษาธิการ 2544 : 14) ซึ่งสถานศึกษาควรดำเนินการ ดังนี้



การใช้แหล่งการเรียนรู้เชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นสู่สากล


แผนภูมิ การใช้แหล่งการเรียนรู้เชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นสู่สากล

การใช้แหล่งการเรียนรู้เชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นสู่สากล

                   การใช้แหล่งเรียนรู้เป็นกลไกที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่น สู่สากลและการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ให้ผู้เรียน ได้ลงมือปฏิบัติ ระหว่างหรือหลังการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้นั้นๆ และสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้นั้น ผู้จัดกิจกรรมหรือผู้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ จำเป็นต้องออกแบบกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ ซึ่งต้องรู้ว่าแหล่งเรียนรู้ นั้นถูกจัด อยู่ในประเภทใด มีองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง และมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งอย่างไร ตลอดจนจุดเน้น หรือกิจกรรมของแหล่งเรียนรู้ ว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง และ มีเนื้อหาสาระอะไรที่ต้องการเน้น ให้ผู้เข้าใช้บริการทราบหรือเรียนรู้ ซึ่งผู้ออกแบบกิจกรรมต้องนำองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่อยู่ในแหล่งเรียนรู้ อาจมีเนื้อหาสาระที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้ในหลักสูตร ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์และมีความหมาย ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมากขึ้น ดังนั้นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้จึงเป็นกิจกรรม ที่ช่วยเติมเต็มความรู้ หรือการขยายความรู้ความเข้าใจให้ผู้เรียน หรือเสริมทักษะทำให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ในตัวผู้เรียนต่อไป ฉะนั้นการนำภูมิปัญญาและแหล่งการเรียนรู้มาใช้ในการจัดแหล่งการเรียนรู้ จะเป็นการผสมผสานระหว่างความรู้ท้องถิ่น กับความรู้สากล

การใช้แหล่งการเรียนรู้เชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่น

              แนวทางการใช้แหล่งการเรียนรู้เชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยกำหนดความหมายของท้องถิ่นและความรู้ท้องถิ่นเพื่อเป็นขอบเขตในการเชื่อมโยงความรู้ ได้ดังนี้คือ


                 ท้องถิ่น หมายถึง บริเวณสถานที่รวมทั้งสภาพแวดล้อมและสังคมวัฒนธรรมที่ผู้เรียนส่วนมากมีวิถีชีวิตเกี่ยวข้อง คุ้นเคยมาตั้งแต่กำเนิด มีขอบข่ายครอบคลุม ทั้งหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด กลุ่มจังหวัด และภูมิภาคของท้องถิ่นนั้น

                 ความรู้ท้องถิ่น หมายถึง รายละเอียดของข้อมูลสารสนเทศรวมทั้งเนื้อหา องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ เช่น สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม ประวัติความเป็นมา สภาพเศรษฐกิจ สังคม การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา ตลอดจนสภาพปัญหา สิ่งที่ควรได้รับการถ่ายทอดสู่คนในชุมชนและสังคมรุ่นหลัง

                เมื่อกำหนดความหมายแล้ว ครูผู้สอนต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้ท้องถิ่น ได้พร้อมกับผู้เรียนโดยมีผู้เรียนที่อยู่ในท้องถิ่นร่วมกันจากประเด็นที่สนใจ กำหนดแนวทางการใช้แหล่งการเรียนรู้เชื่อมโยงสู่สากลของสถานศึกษา อาจจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่น ใช้แหล่งเรียนรู้เป็นที่ฝึกปฏิบัติงานของผู้เรียน เชิญภูมิปัญญา มาถ่ายทอดความรู้ การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนไปศึกษาสำรวจ หรือนำความรู้ท้องถิ่นมาบูรณาการกับสาระการเรียนรู้ในหลักสูตร หรือจัดหรือฟื้นฟูพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งล้วนสามารถเชื่อมโยงกับสาระการเรียนรู้สากลได้อย่างดี

แหล่งการเรียนรู้กับสาระการเรียนรู้

                หลักสูตรกล่าวถึงความจำเป็นที่กระทรวงศึกษาธิการ ต้องส่งเสริมให้พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ทั้งในสถานศึกษาและในท้องถิ่น ให้ครอบคลุมหลักสูตรและกว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นสากล ตลอดจนให้มีการกำกับ ติดตามเร่งรัดและประเมินผล การดำเนินงานเกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้ เป็นระยะ จึงได้กำหนดให้มีการกล่าวถึงแหล่งการเรียนรู้ ไว้ในสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (กระทรวงศึกษาธิการ 2545ญ : 3) ดังนี้

1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กล่าวว่า แหล่งการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ได้แก่

           1.1 ห้องสมุด เป็นแหล่งการเรียนรู้และเป็นหัวใจสำคัญของสถานศึกษา ที่ผู้เรียนจะใช้ในการศึกษาค้นคว้า ใช้อ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ การจัดห้องวิชาการเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด หรือเป็นแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา จะทำให้ผู้เรียนได้ประโยชน์ จากการเรียน และการใช้อินเตอร์เน็ตในการค้นคว้าหาความรู้มีความสำคัญมากขึ้นในการรับความรู้จากหลายแหล่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลในการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

             1.2 ทรัพยากรบุคคล เช่น ผู้ปกครอง คนในท้องถิ่นที่มีความรู้ ภูมิปัญญาด้านภาษาถิ่น เพลงพื้นบ้าน พิธีกรรมต่างๆ ครูภาษาไทยควรจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีความรู้ความสามารถมา ซึ่งสามารถเชิญมาให้ความรู้ในสถานศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ 2545ง : 23-23)

2. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กล่าวว่า การเรียนรู้คณิตศาสตร์ในโลก ยุคไร้พรมแดน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ตลอดเวลาและตลอดชีวิต ทั้งนี้เพราะแหล่งการเรียนรู้ได้เปิดกว้าง ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ทั้งในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย ได้แก่ ห้องเรียน ห้องสมุด สถานศึกษา ศูนย์การเรียน พิพิธภัณฑ์ สมาคม ชุมชน ชมรม ชุมนุม มุมคณิตศาสตร์ สวนคณิตศาสตร์ ห้องกิจกรรมคณิตศาสตร์ หรือห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเลกทรอนิกส์ รวมถึงบุคคลที่มีความรู้ ทางคณิตศาสตร์ (กระทรวงศึกษาธิการ 2545ข : 29)

3.กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ต้องเสริมสร้างและสนับสนุนให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย มิได้จำกัดเฉพาะห้องเรียน ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษา หรือจากหนังสือเรียนเท่านั้น แต่รวมถึงแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งในและนอกสถานศึกษา และท้องถิ่น (กระทรวงศึกษาธิการ 2545ซ : 45-46) ได้แก่

             3.1สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือเรียน หนังสืออ้างอิง หนังสืออ่านประกอบ หนังสือพิมพ์ วารสาร

             3.2สื่ออิเลกทรอนิกส์ ได้แก่ มัลติมีเดีย สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หนังสืออิเลกทรอนิกส์ (e-book)

             3.3แหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา เช่น ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

             3.4แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น เช่น สวนพฤกษศาสตร์ สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานวิจัยท้องถิ่น ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ครู อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย

ทั้งนี้ในการสอนวิทยาศาสตร์ ครูผู้สอนควรจัดให้แหล่งการเรียนรู้สอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ และคำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนที่จะได้รับการพัฒนา ทั้งด้านความรู้และความคิด ทักษะ กระบวนการ เจตคติ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม จากแหล่งการเรียนรู้เหล่านั้น

4. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาวัฒนธรรม กล่าวไว้ว่า สื่อการเรียนรู้ต้องมีชีวิตชีวา มีสีสันของการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งในและนอกห้องเรียน เครื่องมืออุปกรณ์การเรียน ไปจนถึงอุปกรณ์การสื่อสาร เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ บุคคล ภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนั้นการให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง ด้วยการลงมือปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นสื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญ (กระทรวงศึกษาธิการ 2545ฉ : 50-51)

5. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา กล่าวว่า ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกเวลาทุกสถานที่ และเรียนรู้ได้จากสื่อการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ทุกประเภท รวมถึงจากเครือข่ายการเรียนรู้ต่างๆที่มีอยู่ในสังคม ท้องถิ่น และอื่นๆ (กระทรวงศึกษาธิการ 2545ช : 20-27)

6. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กล่าวว่า สามารถแสวงหาความรู้ได้ตลอดเวลา ทุกเวลา ทุกโอกาส ทุกสถานที่ ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่มากมาย ในปัจจุบัน ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามมาตรฐานของกลุ่มศิลปะได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด (กระทรวงศึกษาธิการ 2545จ : 18)

7. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กล่าวว่า วิธีการที่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ หรือเรียนรู้จากแหล่งความรู้ ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งวิทยาการ สถาบัน องค์กร หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน สถานประกอบการ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเลกทรอนิกส์ เป็นต้น (กระทรวงศึกษาธิการ 2545ก : 32)

8. กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศ กล่าวว่า แหล่งการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นครูผู้สอนควรแนะนำให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จากแหล่งการเรียนรู้ในการศึกษาค้นคว้า ฝึกทักษะทางภาษาเพิ่มเติมจากการเรียนในชั้นเรียนได้ด้วยตนเอง แหล่งการเรียนรู้ เพิ่มพูนทักษะทางภาษา เช่น ครูผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียน พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ห้องสมุดสถานศึกษา ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง (All For Education) รายการวิทยุ โทรทัศน์ภาคภาษาอังกฤษ สถานที่ทำการของหน่วยงาน สถานที่ท่องเที่ยว สถานทูต การเดินทางไปต่างประเทศ (กระทรวงศึกษาธิการ 2545ค : 26-27)

แหล่งการเรียนรู้ประเภทสถานที่

แหล่งการเรียนรู้ประเภทสถานที่ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน วัด สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งธรรมชาติ สถานประกอบการ



ภูมิปัญญาท้องถิ่น

                     คำว่า ภูมิปัญญา (Wisdom) หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น (Popular Wisdom) หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน (Local Wisdom) หรือภูมิปัญญาไทย ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้ในท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น ในเอกสารนี้ใช้คำว่า “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” หมายถึง บุคคล ที่มีความรู้ ความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรมขององค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมในท้องถิ่น ที่ถ่ายทอด และพัฒนาเลือกสรรปรับปรุง จนเกิดทักษะและความชำนาญ สามารถใช้แก้ไขปัญหาของมนุษย์ และพัฒนาชีวิตได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย แล้วเกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เหมาะสมและสืบทอดพัฒนาต่อมา อย่างไม่มีสิ้นสุด อันเป็นศักยภาพหรือความสามารถ วิธีการ เครื่องมือ เพื่อใช้ในการป้องกันและแก้ปัญหาการดำรงชีวิต ให้มีความสงบสุขของครอบครัว บุคคล หรือท้องถิ่นให้อยู่รอดจนถึงปัจจุบันและในเอกสารนี้ ได้จำแนกประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น ไว้ 6 ประเภท ดังนี้

1.ด้านเกษตรกรรม หมายถึง องค์ความรู้ทางเกษตรหรือบุคคลที่มีความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะและเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐาน คุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในสภาวการณ์ต่าง ๆได้ เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญหาการเกษตรด้านการผลิต และรู้จักปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเกษตร

2.ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรมเกี่ยวกับการผลิต การบริโภค หมายถึงเทคโนโลยีท้องถิ่นหรือบุคคลที่มีความสามารถในการแปรรูปผลผลิต โดยใช้เทคโนโลยีท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหาด้านการถนอมอาหาร การบริโภคอย่างปลอดภัย

3.ด้านศาสนาและประเพณี หมายถึง หลักธรรม คำสอนทางศาสนา ความเชื่อและประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่าเหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติให้บังเกิดผลต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม เช่น หลักธรรมทางศาสนา การบวชป่า ประเพณีทำขวัญนา เป็นต้น

4.ด้านศิลปวัฒนธรรม หมายถึง องค์ความรู้หรือบุคคลที่มีผลงานด้านศิลปะสาขาต่าง ๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม และวัฒนธรรม

5.ด้านการแพทย์แผนไทย หมายถึง องค์ความรู้ที่ใช้ป้องกันและรักษาสุขภาพคนในท้องถิ่น หรือบุคคลที่มีความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพคน ในท้องถิ่น โดยเน้นให้ท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพอนามัยได้

6.ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความสามารถในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในครอบครัว ท้องถิ่น รวมทั้ง การอนุรักษ์ พัฒนาและใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลและยั่งยืน

การเชื่อมโยงแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นสู่สากล

               การเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นมีความสำคัญ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน เพราะผู้เรียนได้เรียนรู้จากสภาพจริง ที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว สังคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดราชบุรี เป็นท้องถิ่นที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน เชื่อว่ามีผู้คนมาอยู่ตั้งแต่ยุคหินกลาง ประมาณ 10,000 มาแล้ว แต่หลักฐาน การสร้างบ้านแปลงเมืองปรากฏหลักฐานแน่ชัดในสมัยทวารวดี ที่ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี และสันนิษฐานว่าเมืองราชบุรี บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง ปรากฏหลักฐาน การตั้งเมือง ท่าเรือสินค้า สำเภาจากต่างประเทศ มีพระปรางค์วัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นประธานอยู่กลางเมือง ในสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราช และ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ยกกองทัพรับศึกพม่าในจังหวัดราชบุรี หลายครั้ง ต่อมาในสมัยพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าให้สร้างกำแพงเมืองใหม่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลองอันเป็นที่ตั้งของกรมการทหารช่าง ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมเมืองราชบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม เมืองเพชรบุรี เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ ตั้งขึ้นเป็นมณฑลราชบุรี ตั้งศาลา ว่าการมณฑลที่เมืองราชบุรี ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง ปัจจุบันคืออาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติราชบุรี เมื่อมณฑลราชบุรีถูกยกเลิกและเมืองราชบุรีมีฐานะเป็นจังหวัดจวบจนปัจจุบัน นอกจากนั้นจังหวัดราชบุรีเป็นเมืองที่มีอารยธรรมเก่าแก่ ยังมี ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี หลากหลายอันเกิดจากชน 8 ชาติพันธุ์ ก่อเกิดอาชีพเพาะปลูก ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์จากในป่า ไปยังเมืองหลวง จนกระทั่งปัจจุบันเป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยผลผลิต ทางการเกษตร อุตสาหกรรมโอ่งมังกร สิ่งทอและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ฯลฯ

               จากสภาพเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาของท้องถิ่น ของจังหวัดราชบุรี สามารถสนับสนุนให้ครูผู้สอนสามารถนำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนเกิดสัมฤทธิ์ผลบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง ซึ่งสอดคล้องกับ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ที่กล่าวว่า การจัดการศึกษา ให้ผู้เรียนเกิดความรู้คู่คุณธรรมแล้ว ยังจะต้องจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ชีวิตจริงของตนเองในท้องถิ่น เรียนรู้ สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ประวัติความเป็นมา สภาพของท้องถิ่น สภาพเศรษฐกิจ สังคม การดำรงชีวิต ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนให้มีความรัก ความผูกพัน และมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตในสังคม

การเลือกแหล่งการเรียนรู้

          1. มีความสะดวกคล่องตัวในการไปใช้แหล่งการเรียนรู้ เช่น สะดวกพาผู้เรียน ไปศึกษา พาไปฟังบรรยาย พาฝึกงาน ดูการสาธิต หรือภูมิปัญญามีความสะดวก ในการมาสอนที่สถานศึกษา

          2. เวลา แหล่งความรู้ที่เลือกใช้สามารถจัดได้ตรงกับเวลา เอื้อประโยชน์ ต่อการสอน โดยไม่กระทบต่อเวลาเรียนที่ระบุไว้ตามหลักสูตร

          3. การสนับสนุนและความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับแหล่งการเรียนรู้ และการแก้ปัญหาร่วมกัน

          4. งบประมาณ การไปศึกษายังแหล่งการเรียนรู้ที่เลือกไว้นั้น สถานศึกษาต้องมีค่าใช้จ่ายเพียงพอ

องค์ประกอบการใช้แหล่งเรียนรู้

ในการเลือกแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นมาใช้ในจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบ ดังนี้


1. ความตรงเนื้อหา หมายถึง สื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่เลือก สามารถให้ข้อมูลตรงเนื้อหาสาระ ตรงตามหลักสูตร ตรงตามจุดมุ่งหมายการสอน

2. มีความเหมาะสมในด้านประสบการณ์เดิมของผู้เรียน ระดับความพร้อม วัยและเชาว์ปัญญาของผู้เรียน ทั้งรูปแบบและคุณลักษณะที่ดีของแหล่งการการเรียนรู้

3. ความสะดวก ในการเลือกแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นผู้ศึกษาต้องคำนึงถึงระยะเวลาการเดินทาง ฯลฯ ในการไปใช้แหล่งการเรียนรู้

4.aประหยัดค่าใช้ค่าจ่าย โดยคำนึงถึงการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นใกล้สถานศึกษามากที่สุด

แนวทางการใช้แหล่งการเรียนรู้สู่สากล

             แนวทางในการนำแหล่งการเรียนรู้มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียน ผู้บริหารและครูผู้สอน ต้องจัดแหล่งการเรียนรู้ที่เปิดกว้างออกไปสู่ท้องถิ่น ในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด หรือต่างจังหวัด เพื่อเป็นสะพานเชื่อมโยงให้สถานศึกษา และท้องถิ่นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน ทำให้ผู้เรียนได้รับการปลูกฝังให้รู้และรักท้องถิ่น เข้าใจปัญหาของหมู่บ้านตนเอง เป็นการฝึกให้ผู้เรียนคิดอย่างเป็นระบบ เป็นวิทยาศาสตร์ คิดหลายแง่มุม สรุปองค์ความรู้ที่พร้อมจะมองเห็นคุณค่าของท้องถิ่นบ้านเกิด ปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีค่านิยมด้านคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งสามารถดำเนินการ ได้ดังนี้

1. พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น โดยความร่วมมือของ ครูผู้สอน ผู้ทรงคุณวุฒิ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สิ่งที่พิจารณา คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความรู้และเนื้อหาสาระ ของท้องถิ่นสามารถให้ข้อมูล หลังจากนั้นกำหนดเป็นโครงการ ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ จัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล

2. แหล่งการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติ โดยให้ผู้เรียนฝึกงานที่บ้านหรือ สถานประกอบการของผู้ทรงภูมิในท้องถิ่น หรือถ้าสถานศึกษามีความพร้อม อาจจัดสถานที่จำลองขึ้นในสถานศึกษา โดยจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกันให้เพียงพอ ที่สำคัญ คือ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

3. การถ่ายทอดโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ได้ 3 วิธีดังนี้ คือ

                        3.1 ครูเป็นผู้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นไปตามลักษณะกิจกรรม คือ ครูเป็นตัวแทนผู้ทรงภูมิรู้ในท้องถิ่น ทำหน้าที่ถ่ายทอดภูมิปัญญา โดยครูผู้สอนได้รับคำปรึกษาหารือ คำแนะนำจากผู้ทรงภูมิในท้องถิ่น

                      3.2 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน รวมทั้ง ทำหน้าที่ประเมินผลการเรียนด้วย

                      3.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่นและครูผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียนโดย ผู้มีภูมิปัญญาท้องถิ่นถ่ายทอดการปฏิบัติให้กับครูผู้สอน ส่วนครูผู้สอนวางแผนร่วมกับ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ต่อจากนั้นครูผู้สอนดำเนินการเองทั้งหมด ตั้งแต่การเตรียมสถานที่ เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์

4. การนำสิ่งที่เป็นความรู้เฉพาะเรื่องมาสอดแทรกในเนื้อหาสาระการเรียนวิชาต่างๆ โดยครูผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันรวบรวมความรู้ที่เกี่ยวกับ ประวัติบุคคลสำคัญ ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ มาจัดทำบทเรียนเสริม หรือครูผู้สอนเชิญภูมิปัญญาท้องถิ่นจากแหล่งการเรียนรู้มาสอนผู้เรียน

5. การให้ผู้เรียนไปสำรวจแหล่งการการเรียนรู้โดย มาสรุปจัดทำเป็นเอกสาร เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนซึ่งสามารถใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ต่อไปได้

6. การจัดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โดยให้ผู้เรียนสำรวจ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่แล้ว จัดทำเป็นเอกสาร ส่วนสิ่งของที่ได้จากการบริจาค นำมาจัดหมวดหมู่เพื่อให้ผู้เรียนใช้ในการศึกษาค้นคว้า



การพัฒนาและใช้แหล่งการเรียนรู้

              แหล่งเรียนรู้ทุกรูปแบบมีสถานภาพที่จะเอื้อต่อหน้าที่ในการพัฒนาการเรียนรู้ ในเรื่องความคิด ความเข้าใจในคุณค่า และทัศนคติได้อย่างกว้างขวางและสามารถ เสริมมิติที่เป็นรูปธรรมสามารถพัฒนาการเรียนรู้ (Learning) และการศึกษา (Education) โดยเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ในเรื่อง ดังต่อไปนี้


1.ความรู้เกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคมได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติและสังคมโลกรวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมา ของสังคมไทย และระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

2.ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมทั้งความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน

3.ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ภูมิปัญญา

4.ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง

5.ความรู้และทักษะในด้านการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

ในการใช้แหล่งการเรียนรู้ ไอค์เกนเฮด (Aikenheada1997a:a127) กล่าวว่า แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น จะช่วยให้ผู้เรียนได้ผูกโยงเรื่องราวและสื่อความหมายได้ ง่ายกว่า การนำทฤษฎีตะวันตก มาใช้ในการเรียนการสอนทันที ซึ่งถือว่าห่างจาก การเรียนที่คุ้นเคยของผู้เรียน ซึ่งแอพเพิล (Apple 1990 : 50-67) ได้นำวิทยาการพื้นบ้านมาใช้ในการเรียนการสอนพบว่าช่วยให้ผู้เรียนให้เกิดความเจริญงอกงามทางสติปัญญา ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในท้องถิ่นอย่างปกติสุข บนพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ตามสภาพภูมิศาสตร์ นิเวศวิทยา ความเชื่อ ปรัชญา วิถีท้องถิ่นและวิถีแห่ง การดำรงชีวิตสากล



บทบาทสถานศึกษาในการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้

        
การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติ

เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ 2546: 36) ไว้ดังนี้ คือ

1.สำรวจแหล่งการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้ง ในสถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น ในเขตพื้นการศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษาใกล้เคียง

2.จัดทำเอกสารเผยแพร่แก่ครู สถานศึกษาอื่น บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่น ที่จัดการศึกษาในบริเวณใกล้เคียง

3.จัดตั้งและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้รวมทั้งพัฒนาให้เกิดองค์ความรู้และประสานความร่วมมือกับสถานศึกษาอื่น บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานสถาบันสังคมอื่น ที่จัดการศึกษา ในการจัดตั้งส่งเสริมพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่ใช้ร่วมกัน

4.ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูใช้แหล่งการเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียนในการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยครอบคลุมภูมิปัญญาท้องถิ่น





ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต

                 ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราหลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา ธุรกิจและพาณิชย์ บันเทิง ดังนี้

ด้านการศึกษา

สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่

ผู้เรียน นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น

ด้านธุรกิจและการพาณิชย์

 ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ 
สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 1
ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น

ด้านการบันเทิง

การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วไป
สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ .
สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่และเก่า มาดูได้

               สรุปได้ว่า อินเตอร์เน็ตมีความสำคัญ ในรูปแบบของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย การติดต่อสื่อสารที่สะดวก และรวดเร็ว ความเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้แหล่งใหญ่ที่สุดของโลก สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการทำงานทุกสาขาอาชีพ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูล ที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กรรวมถึงการเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญของผู้เรียนอีกด้วย สถานศึกษาจึงควรเสริมทักษะการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยให้กับผู้เรียน โดยสถานศึกษาจะต้อง ให้ความสนใจรวบรวมเว็บไซต์ต่างๆ แหล่งการเรียนรู้บนอินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนที่ต้องการศึกษา ค้นคว้า หาความรู้เพิ่มเติม ตามหลักการการศึกษาที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ChildCenter)ซึ่งเป็นการสร้างผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้ดิจิตอล

              เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว แม้แต่การศึกษาหาข้อมูลและการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ก็ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส ดังนั้น การเรียนรู้ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศจึงไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียนและครู แต่การเรียนการสอนแบบดั้งเดิมจะลดน้อยลง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน จะเปลี่ยนไป เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ อินเตอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter Connection Network เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ตเป็นเสมือนใยแมงมุมที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่นๆ หรือเลือกไปเส้นทางอื่นได้หลายเส้นทาง การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace

การจัดบรรยากาศในการเรียนรู้

             บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีในสถานศึกษา เช่น บริเวณสถานศึกษาสะอาด มีต้นไม้ร่มรื่น มีซุ้มหรือมุมสงบ ห้องเรียนสะอาด มีสีและแสงที่อ่อนโยนนุ่มนวล มีรูปภาพตกแต่งผนังอย่างเหมาะสม มีโรงอาหารและห้องน้ำที่สะอาดถูกหลักอนามัย จะช่วยให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นมากยิ่งขึ้น เกิดความรักและไม่ต้องการให้สถานศึกษาหรือห้องเรียนของตนสกปรก เกิดความเคยชินกับความสะอาด ความสวยงาม ความเป็นระเบียบจนซึมซับสิ่งดีๆที่ได้รับ ช่วยให้เกิดความรับผิดชอบ และมีวินัย ในตนเอง และสามารถรับความรู้ได้เต็มที่จากกิจกรรม และประสบการณ์ต่างๆ ที่สถานศึกษาจัดให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            นอกจากบรรยากาศที่ดีในบริเวณสถานศึกษาและห้องเรียนแล้ว บรรยากาศที่ดีในศูนย์การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่สถานศึกษาต้องทำให้เกิดขึ้น ตามแนวทางที่ศาสตราจารย์คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ได้เสนอแนะแนวทาง การจัดบรรยากาศของศูนย์การเรียนรู้ไว้ ด้วยหลัก 7 ส ดังนี้

1.สะอาด บริเวณพื้นห้องและครุภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งสื่อต่างๆ สามารถใช้พื้นห้องเป็นที่อ่านหนังสือ นอนอ่าน หรือทำกิจกรรมต่างๆได้ ชั้นหนังสือ ตู้หนังสือ ตู้บัตรรายการ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องรับโทรทัศน์ หนังสือหรือเอกสารต่างๆ ต้องหมั่นเช็ดถูปัดฝุ่น ทุกวันและมีการทำความสะอาดใหญ่ในช่วงปิดเทอม รวมทั้งดูแลปัดกวาดหยากไย่ บริเวณเพดานและมุมต่างๆในห้อง และเปิดหน้าต่างให้ถ่ายเทเพื่อให้มีกลิ่นสะอาด ไม่อับชื้น ปราศจากโรค

2.สงบ ภายในศูนย์การเรียนรู้จำเป็นต้องมีบรรยากาศที่สงบเพียงพอ ที่จะ ไม่รบกวนสมาชิกที่เข้าไปศึกษาค้นคว้า ดังนั้น สถานที่ตั้งของศูนย์การเรียนรู้จึงไม่ควรอยู่ใกล้ชุมชนมากเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงเสียงดังรบกวน เช่น เสียงรถ เรือหางยาว หรือแม้แต่เสียงเครื่องปรับอากาศภายในศูนย์ หากมีก็ไม่ควรเปิดเครื่องที่มีเสียงดังเกินไป

3.สะดวก สถานที่ตั้งศูนย์การเรียนรู้ ควรตั้งอยู่ในที่ที่สามารถเข้าใช้ได้สะดวก เป็นอาคารอยู่บริเวณศูนย์กางของสถานศึกษา มีทางเดินเข้าถึงสะดวก มีครุภัณฑ์อุปกรณ์ครบถ้วน มีการจัดระบบที่ดี สามารถค้นหาและหยิบใช้ สื่อต่างๆได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

4.สบาย ผู้เข้าใช้ศูนย์การเรียนรู้ควรได้รับความสบาย ทั้งความสบายกาย สบายใจโดยจัดโต๊ะเก้าอี้ให้เหมาะแก่ผู้ใช้ อาจมีที่นั่งอ่านเดี่ยว สำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาค้นคว้าอย่างมีสมาธิ มีชุดโซฟาที่มุมอ่านหนังสือพิมพ์และนิตยสาร เพื่อให้เกิดความสบายกาย มีการจัดวางวัสดุครุภัณฑ์ อย่างมีระเบียบ และจัดตกแต่งสถานที่ให้สวยงามด้วยดอกไม้หรือศิลปะต่างๆ เพื่อให้เกิดความสบายตา ผู้ให้บริการควรมีมนุษย์สัมพันธ์ และให้ เกิดความเป็นกันเองเต็มใจช่วยเหลือผู้เข้าใช้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้มีความสบายใจ

5.สอดคล้อง สื่อต่างๆ ในศูนย์การเรียนรู้ซึ่ง ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์และเทคโนโลยี เช่น ซีดีรอม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน แถบบันทึกเสียง เป็นต้น จะสอดคล้องกับหลักสูตร หลักธรรม หลักประชาธิปไตย หลักประกันสุขภาพ และหลักการปฏิรูปการศึกษา โดยผู้มีหน้าที่จัดต้องวิเคราะห์สื่อต่างๆ เพื่อจัดหามาไว้ให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ

6.ส่งเสริม ศูนย์การเรียนรู้จะต้องมีบรรยากาศที่ส่งเสริมการใฝ่รู้ ส่งเสริมให้รู้จักค้นคว้าด้วยตนเอง ส่งเสริมให้มีนิสัยรักการอ่านซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และพัฒนาจิตใจให้มีความสุข ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีสื่อที่มีเนื้อหาสาระหลากหลาย ไม่ใช่แต่เฉพาะหนังสือทางวิชาการเท่านั้น หนังสืออื่นๆ เช่น นวนิยาย หนังสือธรรมะ หนังสือเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย ฯลฯ เป็นสื่อที่ต้องจัดหาไว้ให้บริการ พร้อมทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมบรรยากาศให้ผู้เรียนใฝ่รู้ และรักการอ่าน

7.สังคม จัดบรรยากาศของสังคมแห่งการเรียนรู้ ให้กระจายทั่วถึง ทั้งสถานศึกษา ทำสถานศึกษาให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ให้ทุกคนในสถานศึกษา คือ ครูและผู้เรียน ผู้บริหาร ภารโรง มีความสนใจใฝ่รู้ และขยายสังคมแห่งการเรียนรู้ ไปสู่ท้องถิ่น ส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากสื่อต่างๆ เพื่อการดำรงชีวิตที่ดี

             เมื่อจัดบรรยากาศของศูนย์การเรียนรู้แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ครูทุกคนจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าถึงบรรยากาศที่ดีนั้น โดยการบอกกล่าว แนะนำ และกระตุ้น ด้วยกิจกรรมและวิธีการต่างๆ ให้เข้าไปใช้ในศูนย์การเรียนรู้


การจัดห้องสมุดในรูปแบบอื่น

               การจัดห้องสมุดในรูปแบบอื่นๆ เป็นการขยายบริการของศูนย์การเรียนรู้ไปใน ที่ต่างๆ ในบริเวณสถานศึกษาทั้งในอาคารและนอกอาคาร เพื่อเป็นการส่งเสริมบรรยากาศการจัดการเรียนการสอนเอื้อต่อการเรียนรู้ และการพักผ่อนหย่อนใจ ของผู้เรียน เป็นการฝึกให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน ดูแลรับผิดชอบร่วมกัน โดยการใช้กระบวนการกลุ่ม และเป็นการให้บริการชุมชนในท้องถิ่นอีกด้วย การจัดห้องสมุดในลักษณะนี้ มี 2 รูปแบบ คือ


               1 ห้องสมุดเคลื่อนที่ โดยจัดหนังสือเล่มบางๆอ่านจบในระยะเวลาสั้นๆ เช่น วารสารล่วงเวลา จุลสาร นำใส่ตะกร้า กล่อง กระเป๋า รถเข็น ไปยังสถานที่ ที่เหมาะสมสำหรับให้ผู้เรียนอ่านหนังสือ เช่น ใต้ต้นไม้ ร่มอาคาร มุมสวน สวนหย่อม สนาม ศาลา เป็นต้น

               2 ห้องสมุดไม่เคลื่อนที่ โดยนำหนังสือ วารสาร จุลสาร ฯลฯ จากชั้นหนังสือ หรือตู้หนังสือไปให้บริการตามสถานที่ ที่จัดไว้เป็นการถาวรตาม มุมต่างๆ เช่น ระเบียงหน้าห้อง ใต้บันได ใต้ถุนอาคาร โรงอาหาร โรงฝึกงาน หอประชุม อาคารประชาสัมพันธ์ เป็นต้น การจัดบริการลักษณะนี้ ถ้าหากบริเวณที่จัดมีเนื้อที่กว้างขวางพอ นอกจากวางชั้นหนังสือแล้วอาจจะจัดโต๊ะ เก้าอี้นั่งอ่านหนังสือ หรือปูเสื่อให้นั่งอ่านก็ได้

                การจัดห้องสมุดในลักษณะนี้ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของคณะนักเรียน สภานักเรียน ระดับชั้นหรือคณะสี โดยจัดให้ผู้เรียนดูแลรับผิดชอบ ให้บริการ รวมทั้งเก็บสถิติ การให้บริการ

แหล่งการเรียนรู้ตามแนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนรู้

                  การจัดการเรียนการเรียนรู้เน้นให้เกิดการเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่และ ต้องจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต แหล่งการเรียนรู้จึงมีบทบาทสำคัญต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา โดยเน้นให้ใช้แหล่งการเรียนรู้ใกล้ตัวที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นสำคัญ เชื่อมโยงกับสังคมโลกปัจจุบันที่เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไร้พรมแดน การใช้สื่อประเภทเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเข้ามามีบทบาท ในสถานศึกษาด้วย


               การพัฒนาห้องสมุดสถานศึกษาให้เป็นแหล่งการเรียนรู้  ห้องสมุดสถานศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาการเรียนการสอนของผู้สอนและผู้เรียนเพราะเป็นแหล่งรวบรวม จัดเก็บและให้บริการวัสดุสารนิเทศ ความรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่จำเป็นต่อครู อาจารย์ และผู้เรียน ในสถานศึกษา เป็นแหล่งที่เปิดโอกาสให้ทุกคน ได้มาศึกษาหาความรู้ เรียนรู้วิทยาการต่างๆได้ด้วยตนเอง ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ซึ่งเป็นคุณลักษณะสำคัญที่ต้องพัฒนาให้เกิดแก่ผู้เรียนและเยาวชนของชาติ

                ห้องสมุดในอดีตเป็นสถานที่เก็บรวบรวมหนังสือไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้า จึงเรียกว่าห้องสมุด แต่ปัจจุบันได้รวมสื่ออื่นๆไว้ด้วย จึงมีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น ห้องสมุด สำนักหอสมุด สำนักวิทยบริการ สถาบันบริการสารนิเทศ สำนักบรรณสารนิเทศ สำนักบรรณสารสนเทศห้องสมุดอัตโนมัติ (Automated Library) ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Library) ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) เป็นต้น ทั้งนี้ได้มีการพัฒนาจากห้องสมุดตามความหมายเดิมซึ่งรวบรวมหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ และคอยให้ผู้คนเข้ามาใช้บริการเท่านั้น โดยเปลี่ยนแปลงเป็นห้องสมุด ที่มีสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น สไลด์ เทป วิดิทัศน์ แผ่นซีดี วีซีดี หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หนังสือมัลติมีเดีย อินเตอร์เน็ต เป็นต้น


               ดังนั้นห้องสมุดของสถานศึกษาควรเป็นศูนย์การเรียนรู้โดยเป็นที่รวมของทรัพยากรสารนิเทศทั้งที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ และสิ่งไม่ตีพิมพ์หรือวัสดุสื่อโสตทัศน์ และในสังคมปัจจุบัน ซึ่งเป็นสังคมอิเล็กทรอนิกส์ สถานศึกษาควรดำเนินการพัฒนาห้องสมุดให้มีบทบาทเหมาะสมกับสภาพของสังคมปัจจุบัน ซึ่งประเทศไทย มีสื่อสิ่งพิมพ์ที่ยังเป็นสื่อหลักของห้องสมุด ดังนั้นควรจัดหาสื่อประเภทไม่ตีพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้วย


การประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มผลงาน (Portfolio Assessment)

                ผลงานที่ได้จากการทำกิจกรรมจากแหล่งการเรียนรู้ มีวิธีการดังนี้

¤การฟังบรรยาย เมื่อผู้เรียนฟังการบรรยายก็จะมีสมุดจดคำบรรยาย ซึ่งอาจ อยู่ในรูปของบันทึกอย่างละเอียดหรือบันทึกแบบย่อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของความชอบและความเคยชินของผู้เรียนในการบันทึกคำบรรยาย

¤การฝึกปฏิบัติจริงหรือทดลองปฏิบัติ ซึ่งผลงานของผู้เรียนจะประกอบด้วย การวางแผน ทั้งในรูปของบันทึกอย่างเป็นระบบหรือบันทึกอย่างย่อ การบันทึกวิธีการทำ ผลการปฏิบัติและปัญหาที่พบขณะทำ การแปรผล สรุปผล อภิปรายผล และผลงานสุดท้ายชิ้นงานกลุ่มหรือเดี่ยวก็ได้

¤การอภิปราย ผลงานของผู้เรียนที่เกี่ยวข้อง คือ การกำหนดประเด็น และข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการอภิปราย ผลที่ได้จากการอภิปราย คือ ข้อสรุปต่าง ๆ

¤การศึกษาค้นคว้า จัดเป็นผลงานที่สำคัญสำหรับผู้เรียนที่เกิดจากการได้รับมอบหมายให้ไปค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหรือประเด็นที่กำลังศึกษา ผลงานที่ได้จากการค้นคว้าเพิ่มเติมอาจอยู่ในรูปของรายงาน การทำวิจัยเชิงเอกสารหรือบันทึกประเด็นสำคัญซึ่งอาจนำมาใช้ประกอบการอภิปรายในชั่วโมงเรียนก็ได้

¤การศึกษานอกสถานที่ การศึกษานอกสถานที่จัดเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรงกับเรื่องที่กำลังศึกษา ผลงานที่ได้อาจประกอบด้วย การบันทึกการสังเกต การตอบคำถามหรือปัญหาจากใบงาน การเขียนรายงานสิ่งที่ค้นพบ

¤การบันทึกประจำวัน เป็นผลงานของผู้เรียน ที่อยู่นอกเหนือจากผลงานที่แสดงถึงการเรียนรู้โดยตรง แต่จะช่วยให้ผู้เรียนหรือผู้ประเมินได้เข้าใจในประเด็นหรือสิ่งที่ผู้เรียนนึกคิดเกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้

                 นอกจากกิจกรรมที่ได้กล่าวมา อาจมีกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ซึ่งผู้เรียนสามารถแสดงออกถึงความสามารถ เช่น การสื่อสาร ผลงานเหล่านี้ถ้าได้รับการเก็บรวบรวมอย่างมีระบบด้วยตัวผู้เรียนเองตามช่วงเวลา ทั้งก่อนและหลัง ทำกิจกรรมเหล่านี้ โดยได้รับคำแนะนำจากครูผู้สอน และผู้เรียนฝึกทำจนเคยชินแล้ว จะถือเป็นผลงานที่สำคัญยิ่ง ที่ใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ได้ทุกกลุ่มสาระ การเรียนรู้ของผู้เรียนต่อไป