27 พฤศจิกายน 2552

การสร้างนิสัยแห่งการคิด

                     การเรียนรู้ที่ดีจะต้องพัฒนาการคิดเป็นพื้นฐานอยู่เสมอ ครูที่ประสงค์จะฝึกให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด จะจัดการเรียนรู้ที่ยึดการพัฒนาทางสมองเป็นพื้นฐานหลักอยู่เสมอวิธีปฏิบัติที่นิยมใช้คือ “การสร้างนิสัยแห่งการคิด”

                     การฝึกให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล โดย การฝึกความสามารถในการรับรู้ สังเกต แสวงหาข้อมูลอย่างหลากหลายโดยผ่านประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่นดู ฟัง ถาม สัมผัส ลองทำง่าย ๆ การมีข้อมูลทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของการคิดซึ่งต้องได้รับ การเพิ่มเติมด้วยวิธีคิดคุณภาพของข้อมูล คือ ลักษณะของรูปธรรม กายภาพ เพิ่มขึ้น เป็นการเคลื่อนไหว และเพิ่มเป็นนามธรรม

                     การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาข้อมูล

¤ จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนไปดู ฟัง อ่าน สัมผัส ลองทำ ทดลอง เป็นต้น

¤ นำเสนอสิ่งที่ต้องการให้นักเรียนเห็น เช่น บัตรคำ รูปถ่าย การสาธิต เป็นต้น

¤ เมื่อมอบให้ผู้เรียนทำกิจกรรม หรือนำเสนอแล้ว ก็ให้ผู้เรียนบันทึกเป็นภาพของตนเองพร้อมทั้งพูดอธิบาย หรือเขียนอธิบาย หรือเสนอคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องลงในแผนภาพ เป็นต้น

¤ ครูศึกษาดูว่าในภาพที่นักเรียนนำเสนอนั้นมีข้อมูลระดับใด จำนวนมากน้อยเพียงใด ต่อจากนั้นครูก็ใช้คำถาม เพื่อให้ผู้เรียนเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ถ้าเขามีมูลน้อย 2 – 3 ด้าน ก็ขยายให้เป็นหลายๆ ด้าน ถ้าเขามีหลายด้านแล้วก็ถามให้ลงลึกถึงการเปลี่ยนแปลง หรือความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๆ ต่อเนื่องขึ้นไปจนถึงนามธรรม ลักษณะคำถามที่ครูสามารถนำไปใช้ พอสรุปได้ คือ

                               คำถามพื้นฐานเกี่ยวกับใคร อะไร ที่ไหน เมื่อใด เป็นอย่างไร และทำไม

                              คำถามลักษณะรายละเอียดเกี่ยวกับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสความรู้สึก

                              คำถาม ให้ขยายบริเวณ นำสู่ความสัมพันธ์แบบต่าง ๆ ข้างซ้าย มีอะไรเกี่ยวกันอย่างไรข้างขวามีอะไรเกี่ยวกันอย่างไร ข้างบน ข้างล่างมีอะไรเกี่ยวกันอย่างไร

                              คำถามให้เห็นการเคลื่อนที่ นามธรรม เช่น รูปเทียนที่มีเปลวไฟ คำศัพท์ ถามว่าร้อนไหม ได้กลิ่นไหม้ไหม กลัวไหม เป็นต้น




ไม่มีความคิดเห็น: