แนวทางการใช้แหล่งการเรียนรู้เชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยกำหนดความหมายของท้องถิ่นและความรู้ท้องถิ่นเพื่อเป็นขอบเขตในการเชื่อมโยงความรู้ ได้ดังนี้คือ
ท้องถิ่น หมายถึง บริเวณสถานที่รวมทั้งสภาพแวดล้อมและสังคมวัฒนธรรมที่ผู้เรียนส่วนมากมีวิถีชีวิตเกี่ยวข้อง คุ้นเคยมาตั้งแต่กำเนิด มีขอบข่ายครอบคลุม ทั้งหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด กลุ่มจังหวัด และภูมิภาคของท้องถิ่นนั้น
ความรู้ท้องถิ่น หมายถึง รายละเอียดของข้อมูลสารสนเทศรวมทั้งเนื้อหา องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ เช่น สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม ประวัติความเป็นมา สภาพเศรษฐกิจ สังคม การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา ตลอดจนสภาพปัญหา สิ่งที่ควรได้รับการถ่ายทอดสู่คนในชุมชนและสังคมรุ่นหลัง
เมื่อกำหนดความหมายแล้ว ครูผู้สอนต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้ท้องถิ่น ได้พร้อมกับผู้เรียนโดยมีผู้เรียนที่อยู่ในท้องถิ่นร่วมกันจากประเด็นที่สนใจ กำหนดแนวทางการใช้แหล่งการเรียนรู้เชื่อมโยงสู่สากลของสถานศึกษา อาจจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่น ใช้แหล่งเรียนรู้เป็นที่ฝึกปฏิบัติงานของผู้เรียน เชิญภูมิปัญญา มาถ่ายทอดความรู้ การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนไปศึกษาสำรวจ หรือนำความรู้ท้องถิ่นมาบูรณาการกับสาระการเรียนรู้ในหลักสูตร หรือจัดหรือฟื้นฟูพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งล้วนสามารถเชื่อมโยงกับสาระการเรียนรู้สากลได้อย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น