05 พฤศจิกายน 2552

การศึกษาสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

1. ขั้นสำรวจ   โดยทั่วไปจะประกอบด้วยการสำรวจ แหล่งน้ำ ป่าไม้ ดิน สารเคมีที่ใช้ในเกษตรกรรม ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม เช่น แหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ หน่วยงานองค์กรที่เป็นแหล่งเรียนรู้

2. ขั้นเรียนรู้  

          2.1 ตั้งจุดมุ่งหมาย

                          2.1.1 สำรวจเรื่องอะไร

                          2.1.2 สำรวจเพื่อไปศึกษาถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดในท้องถิ่น

         2.2 ขั้นวางแผน

                         2.2.1 ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันพิจารณาคัดเลือกเนื้อหาที่เหมาะสม

                         2.2.2 ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันตั้งเกณฑ์ในการพิจารณาสถานที่ที่ศึกษา ซึ่งควรมีเกณฑ์ ดังนี้

                                        1) ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียน

                                        2) เหมาะสมกับความสนใจ

                                        3) สอดคล้องกับประสบการณ์เดิม

                                       4) มีความสะดวกปลอดภัยในการศึกษาสำรวจ

                        2.2.3 ร่วมกันวางระเบียบในการศึกษา

                        2.2.4 วางแผนเรื่องปัญหาอุปสรรคและวิธีการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการศึกษา

           2.3 ขั้นเตรียมการ

                       2.3.1 แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มๆ ละ ประมาณ 5-6 คน โดยเน้นผู้เรียนที่ภูมิลำเนาอยู่หมู่บ้าน ตำบลเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในเวลาที่ทำการศึกษาสำรวจ

                      2.3.2 ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเลือกหัวหน้าและเลขานุการกลุ่ม

                      2.3.3 ตัวแทนกลุ่มเลือกสถานที่ ที่จะออกสำรวจ

                     2.3.4 เตรียมการด้านเอกสารข้อมูล และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสำรวจ

                     2.3.5 ผู้เรียนประชุมปรึกษาหารือภายในกลุ่ม

         2.4 ขั้นศึกษาตามจุดประสงค์ที่วางไว้

                    2.4.1 หัวหน้ากลุ่ม แต่ละกลุ่มเป็นผู้นำกลุ่มรับผิดชอบงาน และดูแล กลุ่มของตน

                    2.4.2 เมื่อถึงสถานที่ศึกษา สมาชิกกลุ่มทุกคนต้องแสวงหาคำตอบจากปัญหาตามวิธีการของกลุ่ม จากแหล่งการเรียนรู้ที่แต่ละกลุ่มศึกษา ควรมีประเด็น ดังนี้


                               1) สภาพปัญหา ลักษณะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

                               2) สาเหตุของปัญหา

                               3) ผลกระทบของปัญหา

                              4) แนวทางในการป้องกันแก้ไข

3. ขั้นประเมินผล  ประเมินผลทันทีที่จบการสำรวจ โดยให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาอภิปรายหน้าชั้นเรียน ในหัวข้อต่อไปนี้

               3.1 ปัญหาที่กลุ่มของตนได้รับ

               3.2 วิธีแสวงหาคำตอบ

               3.3 คำตอบที่หามาได้

                 ผู้สอน และผู้เรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันประเมินคำตอบว่าถูกต้องมากน้อยเพียงใด ช่วยกันสรุปภาพรวม พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางที่ควรปรับปรุงแก้ไข และประเมินผลครั้งสุดท้าย

4. ขั้นนำไปใช้ ผู้เรียนนำความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับ การสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นไปใช้ในชีวิตจริง

5. ขั้นประยุกต์ความรู้และเผยแพร่ผลงาน

            5.1. ผู้เรียนจัดนิทรรศการเกี่ยวกับความรู้ที่ได้จากสถานที่ที่ไปศึกษา

            5.2. ผู้เรียนจัดทำรายงานกลุ่ม

ไม่มีความคิดเห็น: