แนวทางการศึกษาระบบนิเวศบริเวณโรงเรียนมีขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นสำรวจ
1.1 ผู้สอนให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบนิเวศ องค์ประกอบของระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ และการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศ
1.2 แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มตามความสมัครใจ เฉลี่ยจำนวนคนตามปริมาณผู้เรียน แต่ละห้องเรียน
1.3 กำหนดจุดศึกษา โดยพิจารณาว่ามีความเหมาะสมและมีเนื้อหาสาระเพียงพอที่จะให้ความรู้เรื่องระบบนิเวศได้ผู้สอนต้องสำรวจสถานที่ที่จะกำหนดเป็นจุดศึกษาอย่างละเอียด
1.4 สิ่งที่ต้องให้ผู้เรียนศึกษา ผู้สอนควรมีแบบปฏิบัติกิจกรรมให้กับผู้เรียน เพื่อจะได้เข้าใจกรอบของการศึกษาว่าควรจะศึกษาเรื่องใดบ้าง
1.5 ระดมสมองกำหนดข้อควรปฏิบัติที่เหมาะสม เช่น ความปลอดภัยของผู้เรียนและ วิธีการศึกษาที่จะทำให้ได้ข้อมูลตามที่ต้องการ
1.6 เตรียมเอกสารข้อมูล อุปกรณ์ ในการปฏิบัติกิจกรรม เช่น ดินสอ ปากกา แว่นขยายถุงพลาสติก เป็นต้น
2. ขั้นเรียนรู้
2.1 ผู้เรียนแต่ละกลุ่มศึกษาระบบนิเวศตามจุดศึกษาที่ได้กำหนดไว้
2.1.1 สระน้ำหลังอาคารเรียน
2.1.2 สวนหย่อมหรือแปลงดอกไม้
2.1.3 สวนป่าหรือบริเวณโรงเรียน
2.1.4 ซากไม่ผุ
2.2 ให้ผู้เรียนตอบข้อคำถามที่ได้จากการสังเกตโดยการจดบันทึกข้อมูลในแต่ละแหล่ง ที่ได้ศึกษา
2.3 ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มกลับมารายงานผลในห้องเรียนระหว่างการศึกษา สำรวจผู้เรียนพบเห็นสิ่งใดที่น่าสนใจบ้าง ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น โดยให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างกลุ่ม
2.4 ให้ผู้เรียนสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
2.4.1 สรุปเกี่ยวกับองค์ประกอบทางกายภาพของระบบนิเวศ เช่น ปริมาณแสงแดดในสวนป่าย่อมมีน้อยกว่าแปลงดอกไม้
2.4.2 สรุปเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้จากแหล่งศึกษา อาทิ ผู้ผลิต ผู้บริโภค องค์ประกอบของระบบนิเวศในแต่ละจุด ทั้งใกล้เคียงและแตกต่างกัน เช่น ผู้ผลิตของสวนป่า เป็นต้น ไม้ใหญ่ ผู้ผลิตในสระน้ำจะเป็นจำพวกผักตบชวาและผักบุ้ง
2.4.3 สภาพปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของแหล่งที่ศึกษา
2.4.4 ห่วงโซ่อาหารในบริเวณที่ศึกษา ผู้เรียนสามารถสังเกตและบันทึก เกี่ยวกับห่วงโซ่อาหารอย่างหลากหลาย
3.ขั้นประเมินผล
3.1 ประเมินผลจากแบบบันทึกข้อมูลและการนำเสนอรายงาน ของแต่ละกลุ่ม
3.2 นำภาพวาดเกี่ยวกับห่วงโซ่อาหาร จัดบอร์ดนิทรรศการหน้าชั้นเรียน
4.ขั้นนำไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
5.ขั้นประยุกต์ความรู้และเผยแพร่ผลงาน เป็นขั้นนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ จัดทำโครงงาน เพื่อแก้ปัญหาในสิ่งที่พบและนำเสนอในรูปนิทรรศการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น