19 กุมภาพันธ์ 2553
08 กุมภาพันธ์ 2553
ฉากภาพใหญ่กับการตั้งคำถาม
ฉากภาพหรือรูปภาพขนาดใหญ่จะมีลักษณะเป็นภาพที่ใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อม หรือวัฒนธรรมของนักเรียน เช่น อวัยวะ ร่างกาย บ้านของฉัน โรงเรียน ชุมชนของฉัน สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า ผลไม้ ทะเล แมลง เป็นต้น ส่วนการตั้งคำถามถือว่าเป็นกลวิธีที่กระตุ้นให้นักเรียนพูดโต้ตอบ และสื่อสารได้เป็นอย่างดี โดยการตั้งคำถามปลายเปิด (แบบต่อเนื่องหรือ แบบเหตุการณ์สมมุติ) และการตั้งคำถามเชิงจินตนาการ
คำถามปลายเปิดในขั้น “เข้าใจ” และ “วิเคราะห์”
ภาพนี้มีเด็กผู้ชายทั้งหมดกี่คน ดูที่ไหนบ้างถึงรู้ว่าเป็นเด็กผู้ชาย
คำถามปลายเปิดในขั้น “ประเมิน”
รถคันลำไหนแล่นเร็วกว่า ช่วยบอกทีได้ไหมว่าทำไม
คำถามปลายเปิดในขั้น “ประยุกต์”
ที่บ้านมีรถหรือไม่ ถ้ามีจะทำยังไงให้รถแล่นได้เร็วๆ และมาถึงโรงเรียนเช้าๆ
คำถามปลายเปิดในขั้น“สร้างสรรค์” หรือ “จินตนาการ”
ถ้าโรงเรียนลอยอยู่บนฟ้า หนูจะหาทางขึ้นไปได้อย่างไร
ป้ายกำกับ:
ฉากภาพใหญ่กับการตั้งคำถาม
นิทานภาพ
เป็นสื่อที่เป็นภาพวาดที่มีการเรียงลำดับเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่ชัดเจน โดยภาพที่วาดควรมีความเชื่อมโยงและต่อเนื่องกัน (จากภาพหนึ่งไปสู่อีกภาพหนึ่ง)
จำนวนภาพประมาณ 4 - 5 ฉาก ตั้งแต่เริ่มเรื่องจนกระทั่งจบเรื่อง (จะขึ้นอยู่กับแผนการจัดประสบการณ์ในแต่ละระดับชั้น)
วัตถุประสงค์
เพิ่มพูนทักษะการพูดของเด็กโดยให้เด็กสามารถพูดเป็นเรื่องราวต่อเนื่องได้
ฝึกทักษะการลำดับเหตุการณ์ โดยใช้ภาพและเรื่องราวเป็นสื่อการเรียนการสอน
ฝึกทักษะการให้เหตุผลหรือการมีเหตุและผล
การจัดกิจกรรม
ครูเตรียมนิทานภาพที่จะใช้ในการสอน พร้อมกับแสดงภาพให้นักเรียนดู
นักเรียนช่วยกันบอกถึงรายละเอียดที่มีอยู่ในภาพที่ครูถือมาทีละภาพจนครบทุกภาพ (ใคร ทำอะไร ที่ไหน และอย่างไร)
ครูแจกภาพให้นักเรียนได้ดูอย่างทั่วถึง (ให้เด็กๆได้สัมผัสและดูภาพโดยทั่วกัน)
ให้นักเรียนกลุ่มหนึ่งออกมาถือภาพ แล้วพยายามช่วยกันเรียงลำดับภาพที่กำลังถือภาพอยู่
ให้นักเรียนที่กำลังถือภาพแต่ละภาพบอกเล่าเรื่องราวในภาพของตนซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับภาพต่อไปอย่างสอดคล้องกัน
ควรเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ออกมาเล่า เนื่องจากการเล่าเรื่องราวของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะ
ครูควรกล่าวชมเชยนักเรียนทุกครั้งที่มีการทำกิจกรรม แม้ว่านักเรียนเรียงลำดับภาพและเล่าเรื่องไม่เหมือนคนอื่น ก็ให้ถือว่าไม่ใช่เรื่องผิด (หากเด็กสามารถอธิบายเหตุผลของการเรียงลำดับภาพนั้นเองได้ก็สะท้อนให้เห็นว่านักเรียนเรียนรู้ในการหาเหตุผล)
หากนักเรียนเรียงลำดับเรื่องราวผิด เพื่อนๆ คนอื่นที่ดูอยู่อาจเป็นผู้ซักถามเองได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นสะท้อนให้เห็นว่า เด็กเริ่มเรียนรู้ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (มีการแสดงความคิด ซักถาม และโต้ตอบอย่างเป็นเหตุเป็นผล)
ครูไม่ควรหยุดหรือห้ามเด็กในขณะที่เด็กกำลังพูดอยู่ หรือแสดงสีหน้าหรือท่าทางปฏิเสธความคิดของเด็ก เพราะอาจทำให้ความกล้าแสดงออกของนักเรียนหยุดชะงัก และเป็นการชะลอกระบวนการพัฒนาสมองของนักเรียน
จำนวนภาพประมาณ 4 - 5 ฉาก ตั้งแต่เริ่มเรื่องจนกระทั่งจบเรื่อง (จะขึ้นอยู่กับแผนการจัดประสบการณ์ในแต่ละระดับชั้น)
วัตถุประสงค์
เพิ่มพูนทักษะการพูดของเด็กโดยให้เด็กสามารถพูดเป็นเรื่องราวต่อเนื่องได้
ฝึกทักษะการลำดับเหตุการณ์ โดยใช้ภาพและเรื่องราวเป็นสื่อการเรียนการสอน
ฝึกทักษะการให้เหตุผลหรือการมีเหตุและผล
การจัดกิจกรรม
ครูเตรียมนิทานภาพที่จะใช้ในการสอน พร้อมกับแสดงภาพให้นักเรียนดู
นักเรียนช่วยกันบอกถึงรายละเอียดที่มีอยู่ในภาพที่ครูถือมาทีละภาพจนครบทุกภาพ (ใคร ทำอะไร ที่ไหน และอย่างไร)
ครูแจกภาพให้นักเรียนได้ดูอย่างทั่วถึง (ให้เด็กๆได้สัมผัสและดูภาพโดยทั่วกัน)
ให้นักเรียนกลุ่มหนึ่งออกมาถือภาพ แล้วพยายามช่วยกันเรียงลำดับภาพที่กำลังถือภาพอยู่
ให้นักเรียนที่กำลังถือภาพแต่ละภาพบอกเล่าเรื่องราวในภาพของตนซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับภาพต่อไปอย่างสอดคล้องกัน
ควรเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ออกมาเล่า เนื่องจากการเล่าเรื่องราวของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะ
ครูควรกล่าวชมเชยนักเรียนทุกครั้งที่มีการทำกิจกรรม แม้ว่านักเรียนเรียงลำดับภาพและเล่าเรื่องไม่เหมือนคนอื่น ก็ให้ถือว่าไม่ใช่เรื่องผิด (หากเด็กสามารถอธิบายเหตุผลของการเรียงลำดับภาพนั้นเองได้ก็สะท้อนให้เห็นว่านักเรียนเรียนรู้ในการหาเหตุผล)
หากนักเรียนเรียงลำดับเรื่องราวผิด เพื่อนๆ คนอื่นที่ดูอยู่อาจเป็นผู้ซักถามเองได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นสะท้อนให้เห็นว่า เด็กเริ่มเรียนรู้ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (มีการแสดงความคิด ซักถาม และโต้ตอบอย่างเป็นเหตุเป็นผล)
ครูไม่ควรหยุดหรือห้ามเด็กในขณะที่เด็กกำลังพูดอยู่ หรือแสดงสีหน้าหรือท่าทางปฏิเสธความคิดของเด็ก เพราะอาจทำให้ความกล้าแสดงออกของนักเรียนหยุดชะงัก และเป็นการชะลอกระบวนการพัฒนาสมองของนักเรียน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)