03 กุมภาพันธ์ 2552

การสอนคิดในห้องเรียน

การสอนคิดในห้องเรียน สัมพันธ์กับหลักสูตรหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2545

1. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความนำ หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง การจัดหลักสูตรกับ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2545
1.1 ผลการวิเคราะห์ความนำ หลักการ จุดหมายของหลักสูตร พบว่า ความนำระบุถึงการพัฒนาการคิดไว้หลายประการ อาทิ สถานศึกษาจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด คิดเป็น จุดหมายของหลักสูตรระบุถึง ความคิดสร้างสรรค์ ปรับวิธีคิด ทักษะการคิด
 
1.2 ผลการวิเคราะห์โครงสร้างสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระที่สัมพันธ์กับการสอนคิด 2 กลุ่ม พบว่า กลุ่มแรก ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นสาระหลักที่จัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างพื้นฐานการคิด อันเป็นกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาวิกฤตของชาติ และกลุ่มที่สอง สุขศึกษาและพละศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ เป็นการเรียนรู้ที่สร้างศักยภาพในการคิด
 
1.3 ผลการวิเคราะห์การจัดหลักสูตรเพื่อค้นแนวทางการสอนคิดและฝึกทักษะการคิด ช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 พบว่า ทักษะพื้นฐานระบุถึงการคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ ช่วงชั้นที่ 3 ทักษะในการดำเนินชีวิต ระบุถึงความคิด ช่วงชั้นที่ 4 มุ่งเน้นให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์



2. ผลการวิเคราะห์สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ พบว่าได้มีการระบุแนวทางการสอนและกิจกรรมไว้ ดังนี้
2.1 ภาษาไทยระบุลักษณะกิจกรรมไว้กว้างๆ อาทิการอ่าน ให้ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดในการตัดสินใจ การฟัง การดู การพูด ให้พูดแสดงความรู้ ความคิดในโอกาสต่าง ๆ วรรณคดีและวรรณกรรมให้แสดงความคิดเห็น วิจารณ์ อย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

 
2.2 คณิตศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
 
2.3 วิทยาศาสตร์ กล่าวถึงแนวทางการสอนไว้ชัดเจนให้มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
 
2.4 สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม ระบุให้สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลมาวิเคราะห์เหตุการณ์อย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น
 
2.5 ศิลปะ ระบุสร้างสรรค์งานตามจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างาน ถ่ายทอดความรู้สึกความคิด อย่างอิสระ ชื่นชม ประยุกต์ใช้
 
2.6 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระบุถึงความคิดสร้างสรรค์
 
2.7 ภาษาต่างประเทศ ระบุให้ การฟัง พูด อ่าน เขียน สื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็น นำมาใช้อย่างมีวิจารณญาณ
  1. 3. การจัดการเรียนรู้ มุ่งปลูกฝังด้านปัญญาพัฒนาการคิดของผู้เรียน ให้มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ การจัดการเรียนรู้ควรใช้รูปแบบวิธีการที่หลากหลายจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ร่วมกันเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบบูรณาการ การใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้  
                                                                                                                                                                3.1 ช่วงชั้นที่ 1 การจัดเรียนรู้สนองต่อความสนใจ คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ สถานศึกษาต้องจัดการเรียนรู้ในลักษณะบูรณาการที่มีภาษาไทยและคณิตศาสตร์เป็นหลักเน้นการเรียนรู้ตามสภาพจริง ได้ปฏิบัติจริง พัฒนาการคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์                                                                                    
    3.2 ช่วงชั้นที่ 2 การจัดการเรียนรู้ตามความสนใจ เน้นทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม การสอนแบบบูรณาการ โครงงาน การใช้หัวเรื่องในการจัดการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิด การค้นคว้า แสวงหาความรู้ สร้างความรู้ด้วยตนเอง สร้างสรรค์ผลงานแล้วนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้                                                                 
    3.4 ช่วงชั้นที่ 3 การจัดการความรู้ที่มีหลักการ ทฤษฎี ควรเน้นการสอนแบบโครงงาน มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความคิด รู้จักตนเอง เตรียมตัวสู่อาชีพ                                                                                                                    
     3.5 ช่วงชั้นที่ 4 การจัดการเรียนรู้เน้นความคิดระดับสูง

    4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
                                                                                                                                                  4.1 การจบการศึกษาภาคบังคับ (ช่วงชั้นที่ 1,2,3) ต้องผ่านการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน ให้ได้ตามที่สถานศึกษากำหนด                                                                                                                 
    4.2 การจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ช่วงชั้นที่ 4) ต้องผ่านการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน ให้ได้ตามที่สถานศึกษากำหนด

    5. การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา คาดหวังว่าผู้เรียน มีความคิดรวบยอด พัฒนาความรู้ความคิด มีทักษะในการคิดเลข การคิดวิเคราะห์
    เมื่อวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2545 ที่สัมพันธ์กับการสอนคิด เห็นได้ว่ามีการระบุแนวทางการสอน กิจกรรมไว้กว้างๆ ดั้งนั้นผู้บริหารสถานศึกษาและครู ต้องพัฒนากระบวนการคิดและศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนอย่างเต็มที่โดยจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ร่วมกันแสวงหาแนวทางการสอนคิด รูปแบบ วิธีการ เทคนิค ที่สอนคิดในห้องเรียนแล้วได้ผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในสถานศึกษาและเครือข่ายต่อไป

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ลงเนื้อหาเร็วๆนะคะ ติดตามอยู่ค่ะ