14 ธันวาคม 2552

บทเรียนจากเชอร์โนบิล

            26 เมษายน พ.ศ. 2529 โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิล (Chernobyl Nuclear Power Plant)ที่เมืองเชอร์โนบิล ประเทศยูเครน(สมัยนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต)เกิดการระเบิด หลังจากที่ทีมวิศวกรตรวจสอบการทำงานของระบบทำความเย็น โดยปิดระบบรักษาความปลอดภัย เมื่อแรงดันไอน้ำภายในสูงขึ้นอย่างฉับพลันแต่ระบบตัดการทำงานอัตโนมัติกลับไม่ทำงาน ส่งผลให้ให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข4ระเบิด สารกัมมันตรังสีเกือบทั้งหมดแพร่กระจายสู่บรรยากาศ ในรัศมี 30กิโลเมตรมีการเปรอะเปื้อนรังสีสูง ถูกประกาศเป็นเขตอันตราย (Zone of alienation) สารกัมมันตภาพรังสีลอยออกไปปนเปื้อนทั้งในอากาศ แม่น้ำ ผืนดิน ทั่วทวีปยุโรปกว่า 3.9ล้านตารางกิโลเมตร ต้องอพยพประชาชนประมาณ 336,000 คน หลังอุบัติเหตุมีความพยายามปิดข่าวโดยแจ้งเพียงแค่ว่ามีเจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้าและเจ้าหน้าที่ดับเพลงเสียชีวิตจำนวน 31คน มีผู้บาดเจ็บจากกัมมันตรังสี 203 คน แต่ด้วยความต้องการไฟฟ้าจำนวนมาก รัฐบาลยูเครนก็สั่งเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เหลือในปี 2534 ก่อนที่โรงงานแห่งนี้จะปิดตัวเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2543 ในปี 2545 องค์กรอนามัยโลก (WHO)ได้สรุปผลความเสียหายว่า มีผู้เสียชีวิตจากแรงระเบิดโดยตรง 47ราย และคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีก 9,000คน จากจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดประมาณ 6.6ล้านคน ซึ่ง 4,000คน มีสาเหตุจากโรคมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ ที่เหลือจากโรคมะเร็งชนิดอื่นและโรคอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ได้รับผลกระทบทางจิตใจอีกจำนวนมาก นับว่าเป็นหายนะภัยจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่รุนแรงที่สุดในโลก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า หายนะภัยเชอร์โนเบลทำให้สารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลมากกว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่ถล่มฮิโรชิมาและนางาซากิถึง 200 เท่า

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

    
    โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มีหลักการผลิตกระแสไฟฟ้าคล้ายกับโรงไฟฟ้าที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำทั่วๆ ไป ซึ่งใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (fossil) อันได้แก่ถ่านหิน น้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติ ในขณะที่ ราคาต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าของปีโตรเลียมอย่างก๊าซธรรมชาติและน้ำมันราคาสูงขึ้น ขณะที่การใช้ถ่านหิน และพลังงานนิวเคลียร์ถูกกว่า และมองไกลไปอีก ถ่านหินขุดย่อมมีวันหมด แต่ยูเรเนียมประมาณว่าใช้งานได้นานจนคุ้มค่ากว่า


            หลักการผลิตกระแสไฟฟ้าก็คือ การปั่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ใช้มือ ใช้เท้าปั่น ประเทศเรารู้สึกว่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้โดยใช้น้ำมันปีโตรเลียมเป็นตัวให้กำลังในการปั่นไฟ ราคาแพงและเราต้องซื้อก๊าซจากพม่า ลองดูพลังงานที่ใช้เราใช้อยู่




          แหล่งรังสีของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ โดยทั่วไปมักจะมุ่งคิดถึงเชื้อเพลิงยูเรเนียมที่อยู่ในเชื้อเพลิงในเครื่องปฏิกรณ์ ภายในเครื่องปฏิกรณ์จะเกิดปฏิกิริยาแตกตัวในนิวเคลียสของอะตอมของบางธาตุ เช่น ธาตุยูเรเนียม ถูกชนด้วยนิวตรอน ทำให้นิวเคลียสแตกตัวออก แล้วให้พลังงานออกมาตามกฎของ Einstein (E=mc2) การชน 1 ครั้ง ให้พลังงาน 7.6*10-12 แคลอรี่ และนำความร้อนที่ได้มาผลิตไอน้ำเพื่อหมุนกังหันผลิตไฟฟ้า และธาตุเหล่านี้จะให้รังสีออกมาเพื่อให้ตัวเองเกิดการเสถียร ในขณะเดียวกันมีโอกาสที่นิวตรอนจะถูกดูดกลืนโดยธาตุอื่นแล้วทำให้ธาตุนั้นให้รังสีออกมาได้ เช่น น้ำ, Heavy water, ก๊าซในช่องระหว่างผนังแท่งเชื้อเพลิงเป็นต้น ทำให้หลายระบบสามารถให้รังสีได้โดยการ activation และการเปรอะเปื้อนรังสี รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก activation และ Photoneutron (นิวไคลด์ของธาตุหนักจับแกมมาที่มีพลังงานมากกว่า 2.21 MeV หรือมากกว่าแล้วให้นิวตรอน)



         ส่วนที่เป็นแหล่งพลังงานมหาศาลก็คือเจ้าแท่งปฏิกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายมือ มีความปลอดภัย หายห่วงได้เพราะมีการป้องกันการรั่วไหลโดยใช้โครงสร้างเป็นผนังคอนกรีตเสริมเหล็กไว้สำหรับดูดรังสีแกมม่าในกรณีที่รั่วไหล ความหนาของผนังคอนกรีต ตั้งแต่ 20 เซนติเมตร ขึ้นไปแล้วแต่จำนวนแท่งปฏิกรณ์ข้างในนอกจากนั้นแล้วยังอยู่ในระบบปิดอีกด้วย พลังงานที่ผลิตได้จากการแตกตัวนิวเคลียร์ฟิชชัน 1ครั้ง มากกว่าพลังงานจากการเผาไหม้ของซากพืชซากสัตว์จากปีโตรเลียมและถ่านหินมากทีเดียว


        ของไหลสีชมพูทำหน้าที่เป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อนกับไอน้ำในเครื่องผลิตไอน้ำ(Steam Generator) หลอดปฏิกรณ์จะใช้พวกธาตุกัมมันตภาพอย่าง U235, U238 หรือไม่ก็ Pu239ส่วนตัว Control Rod จะเป็นตัวที่ทำหน้าที่ในการดูดซับนิวตรอนที่แตกตัวออกมาจากปฏิกิริรยานิวเคลียร์ฟิชชัน นอกจากนั้นต้องมีพวก moderator ซึ่งทำหน้าที่หน่วงปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ซึ่งจะใช้ น้ำ แกรไฟต์ หรือ ดิวทีเรียมออกไซด์



        กลไกการทำงานก้คือ เมื่อเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่เกิดขึ้นจะมีการคายพลังงานความร้อนในระดับสูงลิ่ว แล้วของไหลสีชมพูในนั้นก็จะรับเอาความร้อนไปเข้าสู่เครื่องกำเนิดไอน้ำ แล้วก็จะควบแน่นกลับไปเข้าสู่ถังปฏิกรณ์อีกรอบ โดยอาศัยปั๊มพ์ป้อนกลับเข้าไป



ที่มา www.sripatum.ac.th/.../k35.files
         http://palermos.exteen.com/20071107/nuke-electricity

13 ธันวาคม 2552

การใช้พลังงานนิวเคลียร์

          การประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับโรงไฟ้ฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ณ โรงเรมโกลเด้นซิตี้ จังหวัดราชบุรี กล่าวถึงการใช้พลังงานนิวเคลียร์ไว้ 2 ประการ

1.การใช้พลังงานนิวเคลียร์ ในการนำกัมมันตภาพรังสีมาใช้ เช่น การเกษตรกรรม การแพทย์ อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม การสำรวจทางโบราณคดีและธรณีวิทยา เช่น การหาอายุของวัตถุโบราณ


2.การใช้พลังงานนิวเคลียร์ เช่น การขุดคลอง การทหาร(ระเบิดนิวเคลียร์) การผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เรือดำน้ำ และเรือเดินสมุทร

02 ธันวาคม 2552

ประชุมเปิดโลกการอ่าน

           ในงานประชุมเปิดโลกการอ่านด้วยวรรณกรรมระดับโลก ณ หอประชุมชั้น 6  ตึกสภาคริตจักรในประเทศไทย นายคิม กวางโจ  ผู้อำนวยการองค์การยูเนสโกประจำกรุงเทพ กล่าวว่าในฐานะที่องค์การสหประชาชาติเป็นองค์กรที่ี่เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และว้ฒนธรรมมีหน้าที่ส่งเสริมให้ทุกคนรู้หนังสือภายในปี 2015  และยูเนสโกมีส่วนอย่างมากในการแปลและเผยแพร่วรรณกรรมระดับโลกผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย รวมถึงโครงการนี้ด้วย
           Pred Evans Direator of programme British Council กล่าวว่าการพัฒนาประชาชนในโลกยุคใหม่เรียกว่า global Citizen เป็นประเด็นที่ต้องรวมถึงทักษะด้านภาษาที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และซึมซับได้มากกว่าในอดีต ผลงานวรรณกรรมที่เป็นที่รุ้จักทั่วโลกช่วยกระตุ้นสนใจในการอ่านแลการเรียนในภาษาของวัยรุ่น ครูจึงต้องสนับสนุนการเรียนรู้ดังกล่าว
           แคลร์ คีฟ ผู้อำนวยการสมาคมฝรั่งเศษกรุงเทพ กล่าวว่า การอ่านคือสิทธิพิเศษที่ควรสร้างความรื่นรมย์และถ้าต้องการให้เด็กอ่านหนังสืออย่าทำให้น่าเบื่อ ดังนั้น สิทธิที่จะไม่อ่าน  สิทธิที่จะอ่านข้าม สิทธิที่จะไม่อ่านให้จบ  สิทธิที่จะอ่านแล้วอ่านอีก สิทธิที่จะอ่านอไรก็ได้ที่คุณชอบ สิทธิที่จะอ่านที่ไหนก็ได้ที่คุณชอบ  สิทธิที่จะอ่านเฉพาะส่วนที่ชอบ สิทธิที่จะอ่านออกเสียง หนังสือจะไร้พลังหากไม่มีคนอ่าน ดังนั้นหนังสือจะต้องถูกอ่าน ได้อ่านและจะต้องเป็นหนังสือที่ดีด้วย ซึ่งเห็นได้ว่าไม่มีชาติใดผูกขาดการหนังสือไว้เพียงชาติเดียวได้ เพื่อปกป้องวัฒนธรรมและภาษาของเราจำเป็นต้องส่งเสริมเยาวชนของตนอ่านหนังสือของชาติตนเองด้วย