คำถามที่ถูกถามบ่อย...ทำไมต้องสอนคิด...
ที่ฉันสอนอยู่ทุกวันนี้เด็กไม่ได้คิดเลยหรืออย่างไร...ครูคิดไม่เป็นใช่ไหม...
ประโยคนี้เสียงสูงทำให้ผู้ฟังรู้สึกได้ถึงกระบวนการทางสมองของคุณครูที่เกิดข้อสงสัยข้อปัญหา ข้อขัดแย้งทำให้หัวใจของผู้เขียนพองโตขึ้นเป็นกองก็สภาวการณ์เช่นนี้เองที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับเด็กๆ
ในห้องเรียนการคิดการคิด (Thinking) เป็นกิจกรรมทางสมองที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
เมื่อได้รับสิ่งเร้าที่เป็นสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ ข้อมูล ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 : ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย ก่อเกิดสภาวะ ข้อสงสัย ปัญหา ความขัดแย้ง สมองจะเกิดกระบวนการคิดตอบข้อสงสัย แก้ปัญหา ขจัดความขัดแย้ง เป็นกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นตลอดเวลากับทุกคน ต่อการคิดที่น่าสนใจในที่นี้ได้แก่การคิดอย่างมีจุดมุ่งหมาย ( Directed Thinking) ซึ่งเป็นการคิดนำไปสู่เป้าหมายโดยตรงในการคิดค้นหาข้อสรุปอันเป็นคำตอบสู่การตัดสินใจ
ที่มีคุณภาพเป็นประโยชน์ต่อตนเองสังคมและประเทศชาติแม้การคิดเป็นนามธรรมมีลักษณะซับซ้อน
ยากที่จะมองเห็น แต่มีความพยายามมองว่าการคิดแสดงออกเป็นนามธรรมผ่านพฤติกรรม การพูด การเขียน ชิ้นงานและผลงานได้ จึงมีการให้นิยามทักษะการคิด ค้นหาเทคนิค วิธีการ เครื่องมือพัฒนาทักษะและสร้างนิสัยการคิดให้กับเด็กๆนอกจากนั้นสามารถกำหนดดัชนีชี้วัด
เพื่อประเมินระดับคุณภาพการคิดอีกด้วยแสดงให้เห็นว่าการคิดเป็นความสามารถอย่างหนึ่งทางสมองที่ฝึก
และพัฒนาได้ แล้วใครจะเป็นผู้ฝึกและพัฒนาทักษะการคิดที่สามารถที่สุด คำตอบก็คงเป็นครู ผู้ปกครอง บิดามารดา สถาบันทางสังคมและสื่อต่างๆ
คำตอบสุดท้ายของสังคมก็ฝากคุณครูเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในเพิ่มพูนระดับคุณภาพการคิด ทั้งที่ครูก็ออกแบบการเรียนรู้ที่หลอมรวมทักษะการคิดและเนื้อหาสาระการเรียนรู้เข้าด้วยกันอยู่แล้ว
ในที่สุดครูทุคนของโรงเรียนบ้านโพธิ์และโรงเรียนบ้านคาวิทยาที่เป็นโรงเรียนแกนนำขับเคลื่อนการคิด
สู่ห้องเรียนได้เปิดใจรับที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่กลับมาสำรวจแผนการจัดการเรียนเรียนรู้เพิ่มกิจกรรมการเรียน-การสอนและภาระงานให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิดมีการประเมินระดับคุณภาพการคิดของผู้เรียน
สู่เป้าหมายโครงการ คือ ยกระดับคุณภาพการคิดของผู้เรียนให้สูงขึ้นเพื่อสร้างคนดี คนเก่ง ซึ่งจะทำเด็กให้พบกับความสุขในการเรียนรู้และดำรงชีวิตต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ
05 กุมภาพันธ์ 2552
03 กุมภาพันธ์ 2552
เอกสารDownload
คลิกหัวข้อที่ต้องการ Download!!
การคิดกับหลักสูตร
วิธีการ Download!!
1. Click เลือกหัวข้อที่ต้องการ Download
2. ปรากฏหน้าจอเว็บฝากไฟล์แล้ว Click ที่ Click here to start download
3. click Save
การคิดกับหลักสูตร
วิธีการ Download!!
1. Click เลือกหัวข้อที่ต้องการ Download
2. ปรากฏหน้าจอเว็บฝากไฟล์แล้ว Click ที่ Click here to start download
3. click Save
การสอนคิดในห้องเรียน
การสอนคิดในห้องเรียน สัมพันธ์กับหลักสูตรหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2545
1. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความนำ หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง การจัดหลักสูตรกับ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2545
1.1 ผลการวิเคราะห์ความนำ หลักการ จุดหมายของหลักสูตร พบว่า ความนำระบุถึงการพัฒนาการคิดไว้หลายประการ อาทิ สถานศึกษาจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด คิดเป็น จุดหมายของหลักสูตรระบุถึง ความคิดสร้างสรรค์ ปรับวิธีคิด ทักษะการคิด
1.2 ผลการวิเคราะห์โครงสร้างสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระที่สัมพันธ์กับการสอนคิด 2 กลุ่ม พบว่า กลุ่มแรก ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นสาระหลักที่จัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างพื้นฐานการคิด อันเป็นกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาวิกฤตของชาติ และกลุ่มที่สอง สุขศึกษาและพละศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ เป็นการเรียนรู้ที่สร้างศักยภาพในการคิด
1.3 ผลการวิเคราะห์การจัดหลักสูตรเพื่อค้นแนวทางการสอนคิดและฝึกทักษะการคิด ช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 พบว่า ทักษะพื้นฐานระบุถึงการคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ ช่วงชั้นที่ 3 ทักษะในการดำเนินชีวิต ระบุถึงความคิด ช่วงชั้นที่ 4 มุ่งเน้นให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
1. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความนำ หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง การจัดหลักสูตรกับ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2545
1.1 ผลการวิเคราะห์ความนำ หลักการ จุดหมายของหลักสูตร พบว่า ความนำระบุถึงการพัฒนาการคิดไว้หลายประการ อาทิ สถานศึกษาจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด คิดเป็น จุดหมายของหลักสูตรระบุถึง ความคิดสร้างสรรค์ ปรับวิธีคิด ทักษะการคิด
1.2 ผลการวิเคราะห์โครงสร้างสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระที่สัมพันธ์กับการสอนคิด 2 กลุ่ม พบว่า กลุ่มแรก ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นสาระหลักที่จัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างพื้นฐานการคิด อันเป็นกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาวิกฤตของชาติ และกลุ่มที่สอง สุขศึกษาและพละศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ เป็นการเรียนรู้ที่สร้างศักยภาพในการคิด
1.3 ผลการวิเคราะห์การจัดหลักสูตรเพื่อค้นแนวทางการสอนคิดและฝึกทักษะการคิด ช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 พบว่า ทักษะพื้นฐานระบุถึงการคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ ช่วงชั้นที่ 3 ทักษะในการดำเนินชีวิต ระบุถึงความคิด ช่วงชั้นที่ 4 มุ่งเน้นให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)